การศึกษาการลดความเค็มของดินโดยใช้แกลบและฟางข้าว
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาการลดความเค็มของดินโดยใช้แกลบและฟางข้าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีแก้ปัญหาความเค็มของดินโดยใช้วิธีธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า โดยการตรวจสอบวิเคราะห์หาปริมาณเกลือคลอไรด์ (Cl) ที่ลดลง และดูการเจริญเติบโตของต้นข้าวควบคู่กัน ทำการศึกษาขั้นตอนแรกมีแกลบ แกลบเผา ฟางข้าว และฟางข้าวเผา อัตรา 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ ผลปรากฏว่า แกลบและฟางข้าวส่งผลต่อการลดเกลือคลอไรด์ (Cl) ได้ดีใกล้เคียงกัน ทางคณะผู้จัดทำจึงได้นำแกลบและฟางข้าวมาศึกษาในขั้นตอนต่อไป โดยแบ่งเป็นอัตรา 0 5 10 15 และ 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ ทั้งแกลบและฟางข้าว ผลปรากฏว่า แกลอัตรา 10 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ ส่งผลต่อการลดปริมาณเกลือคลอไรด์ (Cl) ได้ดีที่สุด ใกล้เคียงกับแกลบอัตรา 15 กิโลกรัม และ 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ รองลงมาคือ แกลบ 5 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ และน้อยที่สุดคือ 0 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ คือการ 0.00 กรัม 0.01 กรัม 0.02 กรัมและ 0.04 กรัม ตามลำดับ ฟางข้าวอัตรา 15 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ ส่งผลต่อการลดปริมาณเกลือคลอไรด์ (Cl) ใกล้เคียงฟางข้าวอัตรา 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ รองลงมาคือฟางข้าวอัตรา 10 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ และน้อยสุดที่สุดคือฟางข้าว 0 กิโลกรัม คือ 0.01 กรัม 0.02 กรัม 0.04 กรัม ตามลำดับ จากการวัดค่า pH ของดินเค็มในทุกอัตรา มีค่า pH เป็นเบสใกล้เคียงกันและไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และจากการศึกษาการเจริญเติบโตของต้นข้าว พบว่าแกลบอัตรา 10 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวได้ดีที่สุด ใกล้เคียงกับแกลบอัตรา 15 และ 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ รองลงมาคือแกลบ อัตรา 5 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ และน้อยที่สุดคือแกลบอัตรา 0 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ คือ 72 cm 69.5 cm 68 cm 65 cm 48 cm ตามลำดับ ฟางข้าว อัตรา 15 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวได้ดีที่สุด ใกล้เคียงกับฟางข้าวอัตรา 20 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ รองลงมาคือฟางข้าวอัตรา 10 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ ฟางข้าว อัตรา 5 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ และน้อยที่สุดคือฟางข้าว อัตรา 0 กิโลกรัม/ปล้องบ่อ คือ 71 cm 67 cm 65.5 cm 63.8 cm 44 cm ตามลำดับ
-
6614 การศึกษาการลดความเค็มของดินโดยใช้แกลบและฟางข้าว /project-all/item/6614-2016-09-09-03-51-55-6614เพิ่มในรายการโปรด