Table of Contents Table of Contents
Previous Page  234 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 234 / 302 Next Page
Page Background

2. ในการทดลองหนึ่ง ชั่งสาหร่ายหางกระรอกให้มีน้ำ�หนักเท่า ๆ กัน ใส่ในขวดรูปชมพู่ขนาด

เท่ากัน ซึ่งใส่น้ำ� 200 mL แล้วเติมสารละลายโบรโมไทมอลบลูซึ่งเป็นอินดิเตอร์สำ�หรับ

กรด-เบส ลงไป 2 mL นำ�ขวดหนึ่งไปตั้งไว้ในที่มีแสง อีกขวดหนึ่งไปตั้งไว้ในที่มืด เป็นเวลา

12 ชั่วโมง ดังรูป

ผลการทดลองพบว่าขวดที่ตั้งอยู่ในที่มีแสงจะยังคงเป็นสีฟ้า ส่วนขวดที่ตั้งในที่มืดจะเปลี่ยน

จากสีฟ้าเป็นสีเขียวแกมเหลือง เพราะเหตุใดสาหร่ายที่อยู่ในที่มืดจึงทำ�ให้สารละลายในขวด

เปลี่ยนสี

เนื่องจากในที่มืดสาหร่ายหางกระรอกไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ CO

2

แต่ได้ CO

2

มาจากการหายใจระดับเซลล์ของพืช จึงทำ�ให้สารละลายมีความเป็นกรดมาก

ขึ้น มีผลทำ�ให้สารละลายโบรโมไทมอลบลูเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีเขียวแกมเหลือง ส่วนขวด

ที่อยู่ในที่มีแสงสาหร่ายหางกระรอกมีการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีการใช้ CO

2

ทำ�ให้เมื่อ

ทดสอบกับสารละลายโบรโมไทมอลบลูจึงไม่เปลี่ยนสี

3. นักวิทยาศาสตร์ได้ทำ�การทดลองโดยนำ�สาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่งวางลงบนสไลด์ 3 แผ่น

จากนั้นเติมแบคทีเรียที่ต้องการ O

2

ซึ่งเคลื่อนที่ได้ลงไป แล้วนำ�สไลด์แต่ละแผ่นแยกไปใส่

ในกล่องใสที่ปิดสนิท (อากาศเข้าไม่ได้) โดยให้สาหร่ายในแผ่นสไลด์ ก. เจริญในที่มีแสง

ส่วนแผ่นสไลด์ ข. และ ค. เจริญในที่มืด และให้แสงขาวและแสงสีแดงตรงตำ�แหน่งต่าง ๆ

ในแผ่นสไลด์ ข. และ ค. ได้ผลการทดลองดังรูป

มีแสง

ที่มืด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

222