Table of Contents Table of Contents
Previous Page  232 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 232 / 302 Next Page
Page Background

นอกจากนี้ ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมว่าพืชบางชนิดสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ตัวอย่างเช่น พืชที่ขึ้นในที่แห้งแล้งได้รับความเข้มแสงสูง อุณหภูมิสูง อาจพบว่ามี

ลักษณะผิวใบหนา มีความมันเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ� มีชั้นคิวทิเคิลหนาขึ้นเพื่อช่วยในการสะท้อน

แสง ลดการดูดซับแสงของใบ และช่วยลดอุณหภูมิของใบ มีขนปกคลุมปากใบเพื่อลดการคายน้ำ� และ

การจัดเรียงตัวของใบอาจมีทิศทางที่หลีกเลี่ยงการได้รับแสงที่มีความเข้มแสงสูงโดยตรงที่อาจส่งผลต่อ

เมแทบอลิซึมในเซลล์พืช รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างโดยลดพื้นที่ของใบและมีปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำ�

ส่วนพืชที่ขึ้นอยู่ในที่ร่ม จะมีชั้นคิวทิเคิลบางกว่าพืชที่ได้รับแสงมาก ผิวใบไม่มัน ใบหนา

น้อยกว่า ดังนั้นแสงที่ส่องลงมาที่ใบพืชจึงส่องผ่านมาที่ชั้นคิวทิเคิลไปที่ชั้นเอพิเดอร์มิสและชั้นที่มี

คลอโรพลาสต์ได้ง่ายกว่า นอกจากนี้การจัดเรียงตัวของใบอาจมีทิศทางที่กางใบออกเพื่อให้ได้รับแสง

เต็มที่ มีการเพิ่มพื้นที่ผิวของใบและมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูง

ด้านความรู้

- ปัจจัยความเข้มแสง ความเข้มข้นของ CO

2

และอุณหภูมิที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

ของพืช จากการทำ�กิจกรรม การสืบค้นข้อมูล การนำ�เสนอข้อมูล และการอภิปรายร่วมกัน

ด้านทักษะ

- การสังเกต การหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา การใช้จำ�นวน การจัดกระทำ�และสื่อความ

หมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

การกำ�หนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การสร้าง

แบบจำ�ลอง จากการทำ�กิจกรรม การตอบคำ�ถาม และการอภิปราย

- การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ ความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ�

จากการทำ�กิจกรรม การสืบค้นข้อมูล และการนำ�เสนอข้อมูล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- ความอยากรู้อยากเห็น การใช้วิจารณญาณ ความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์

ความใจกว้าง การยอมรับความเห็นต่าง ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่นอดทน ความรอบคอบ

วัตถุวิสัย จากการทำ�กิจกรรม และการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยประเมินตาม

สภาพจริงระหว่างเรียน

แนวการวัดและประเมินผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

220