Table of Contents Table of Contents
Previous Page  283 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 283 / 302 Next Page
Page Background

บทที่ 9 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

1.

ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (รูปลักษณ์) ของราก การเปลี่ยนแปลงและความ

แตกต่างด้านรูปลักษณ์คุณสมบัติ และพฤติกรรม แล้วนำ�มาเปรียบเทียบกับตนเองเพื่อประยุกต์

ใช้ในการดำ�เนินชีวิต (กิจกรรม 9.1 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของราก)

2.

ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (รูปลักษณ์) ของลำ�ต้นและใบของพรรณไม้ใน

ท้องถิ่นตามหลักวิชาการ โดยใช้สมุดบันทึกพรรณไม้ ก.7-003 และการศึกษาในหัวข้อธรรมชาติ

แห่งชีวิต (กิจกรรม 9.2 โครงสร้างภายนอกและภายในของลำ�ต้น และกิจกรรม 9.3 โครงสร้าง

ภายนอกและภายในของใบ)

บทที่ 10 การลำ�เลียงของพืช

1.

ศึกษาและบันทึกลักษณะของเซลล์คุมและกระบวนการคายน้ำ� รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการ

คายน้ำ� ในหัวข้อธรรมชาติแห่งชีวิตและสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว (กิจกรรม 10.1 ปากใบของพืช

กับการคายน้ำ�)

2.

ศึกษาปัจจัยกายภาพที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในหัวข้อสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว (กิจกรรม

10.2 ธาตุอาหารที่จำ�เป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช)

บทที่ 11 การสังเคราะห์ด้วยแสง

1.

ศึกษาชนิดของสารสีที่มีในใบพืชและความสามารถในการดูดกลืนแสงของสารสี ในหัวข้อ

ธรรมชาติแห่งชีวิต (กิจกรรมเสนอแนะ สารสีและการดูดกลืนแสงของสารสี)

2.

ศึกษาปัจจัยกายภาพที่มีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในหัวข้อสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว

(กิจกรรม 11.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช)

บทที่ 12 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

1.

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสภาพพักตัวของเมล็ด ในหัวข้อธรรมชาติแห่งชีวิตและสรรพสิ่งล้วน

พันเกี่ยว (กิจกรรม 12.2 การทำ�ลายสภาพพักตัวของเมล็ดมะเขือเทศ)

2.

ศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของปลายยอดและปลายรากในหัวข้อธรรมชาติ

แห่งชีวิตและสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว (กิจกรรมเสนอแนะ การเบนเนื่องจากแสงและกิจกรรม 12.3

การเบนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก)

จะเห็นได้ว่ากิจกรรมและจุดประสงค์ของกิจกรรมมีความสอดคล้องกันทั้งในหนังสือเรียนและ

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เมื่อนักเรียนทำ�กิจกรรมตามหนังสือเรียนแล้วสามารถเก็บข้อมูลตาม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาคผนวก

ชีววิทยา เล่ม 3

271