สาระสำ�คัญ
พืชดอกมีเนื้อเยื่อประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อเจริญประกอบด้วยกลุ่มเซลล์
ที่สามารถแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการเติบโตขยายขนาด และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำ�หน้าที่เฉพาะ
ส่วนเนื้อเยื่อถาวรเป็นกลุ่มเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ แบ่งได้เป็น 3 ระบบ คือ ระบบ
เนื้อเยื่อผิว ระบบเนื้อเยื่อพื้น ระบบเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียง ซึ่งทำ�หน้าที่ต่างกัน ทั้งเนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อ
ถาวรจะมีลักษณะ และหน้าที่เฉพาะของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด
ราก คือ ส่วนแกนของพืชที่ทั่วไปเจริญอยู่ใต้ระดับผิวดิน ทำ�หน้าที่ยึดหรือค้ำ�จุนให้พืช
เจริญเติบโตอยู่กับที่ได้ และยังมีหน้าที่สำ�คัญในการดูดน้ำ�และธาตุอาหารในดิน เพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆ
ของพืช โครงสร้างภายในของรากระยะการเติบโตปฐมภูมิ เมื่อตัดตามขวางจะเห็นโครงสร้างแบ่งเป็น
3 ชั้น เรียงจากด้านนอกเข้าไป คือ เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และสตีล ในระยะการเติบโต
ทุติยภูมิของรากเอพิเดอร์มิสอาจจะถูกแทนที่ด้วยเพริเดิร์ม ลักษณะมัดท่อลำ�เลียงจะเปลี่ยนไปเนื่องจาก
มีการสร้างเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียงเพิ่มขึ้น
ลำ�ต้น คือ ส่วนแกนของพืชที่โดยทั่วไปเจริญอยู่เหนือระดับผิวดินถัดขึ้นมาจากราก ทำ�หน้าที่
สร้างใบและชูใบ ลำ�เลียงน้ำ� ธาตุอาหาร และอาหารที่พืชสร้างขึ้นส่งไปยังส่วนต่าง ๆ โครงสร้างภายใน
ของลำ�ต้นระยะการเติบโตปฐมภูมิ เมื่อตัดตามขวางจะเห็นโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ชั้น เรียงจากด้านนอก
เข้าไป คือ เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และสตีล ลำ�ต้นในระยะการเติบโตทุติยภูมิ จะมีเส้นรอบวงเพิ่มขึ้น
และมีโครงสร้างแตกต่างจากเดิม เนื่องจากมีการสร้างเพริเดิร์ม และเนื้อเยื่อท่อลำ�เลียงเพิ่มขึ้น
ใบมีหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง แลกเปลี่ยนแก๊สและคายน้ำ� ใบของพืชดอกประกอบด้วย ก้านใบ
แผ่นใบ เส้นกลางใบ และเส้นใบ พืชบางชนิดอาจไม่มีก้านใบ ที่โคนก้านใบอาจพบหรือไม่พบหูใบ
โครงสร้างภายในของใบตัดตามขวาง ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เอพิเดอร์มิส มีโซฟิลล์ และ
วาสคิวลาร์บันเดิล
นอกจากนี้พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีรูปแบบการจัดเรียงเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน
ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบการเจริญเติบโตและการดำ�รงชีวิตของต้นพืชเอง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
50