Table of Contents Table of Contents
Previous Page  92 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 92 / 302 Next Page
Page Background

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทำ�กิจกรรมว่า วาสคิวลาร์บันเดิล

ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเรียงตัวกระจายอยู่ทั่วเนื้อเยื่อพื้น ทำ�ให้ขอบเขตของคอร์เทกซ์และพิธไม่

ชัดเจนจึงทำ�ให้ไม่สามารถระบุบริเวณของคอร์เทกซ์และพิธลงในรูปวาดได้ ซึ่งต่างจากลำ�ต้นพืช

ใบเลี้ยงคู่ที่สามารถระบุขอบเขตบริเวณของคอร์เทกซ์และพิธได้ชัดเจน

ตารางเปรียบเทียบชนิดของเซลล์หรือเนื้อเยื่อและการจัดเรียงเนื้อเยื่อบริเวณลำ�ต้นถั่วเขียว

และข้าวโพดที่มีการเติบโตปฐมภูมิ

ชั้นเนื้อเยื่อ

ลำ�ต้นถั่วเขียว

ลำ�ต้นข้าวโพด

1. เอพิเดอร์มิส

เอพิเดอร์มิสเรียงเป็นแถวเดียว

ประกอบด้วยเซลล์ผิว เซลล์คุมและ

ขน

เอพิเดอร์มิสเรียงเป็นแถวเดียว

ประกอบด้วยเซลล์ผิวและเซลล์คุม

2. คอร์เทกซ์

มีบริเวณชัดเจน ประกอบด้วยเซลล์

จำ�นวน 5-8 ชั้น ส่วนใหญ่เป็น

พาเรงคิมา

ไม่ชัดเจน ประกอบด้วยเซลล์จำ�นวน

2-3 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นพาเรงคิมา

และมักพบสเกลอเรงคิมาอยู่ถัดจาก

พาเรงคิมาเข้ามาด้านใน

3. สตีล

3.1 วาสคิวลาร์บันเดิล วาสคิวลาร์บันเดิลจำ�นวนหลายกลุ่ม

เรียงตัวเป็นหนึ่งวง แต่ละกลุ่ม

ประกอบด้วยไซเล็มปฐมภูมิอยู่

ด้านใน และโฟลเอ็มปฐมภูมิอยู่

ด้านนอกโดยเรียงตัวในแนวรัศมี

เดียวกัน

วาสคิวลาร์บันเดิลเรียงตัวกระจาย

อยู่ทั่วเนื้อเยื่อพื้น โดยไซเล็มปฐมภูมิ

อยู่ด้านในและโฟลเอ็มปฐมภูมิอยู่

ด้านนอกเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน

มีลักษณะเฉพาะคล้ายหัวกะโหลก

คน

3.3 พิธ

เห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่ประกอบ

ด้วยเซลล์พาเรงคิมา

ไม่สามารถแยกพิธได้ชัดเจน เนื่องจาก

วาสคิวลาร์บันเดิลเรียงตัวแบบ

กระจาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

80