ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรม 9.2 โดยแสดงไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียน และอธิบาย
จุดประสงค์แต่ละข้อกับนักเรียนให้ชัดเจน โดยเน้นว่าเมื่อจบกิจกรรมและการเรียนเรื่อง
โครงสร้างภายนอกและภายในของลำ�ต้นแล้ว นักเรียนต้องเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างลำ�ต้น
พืชใบเลี้ยงคู่และลำ�ต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวางได้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�ความเข้าใจวิธีการทำ�กิจกรรม 9.2 ตอนที่ 1 โครงสร้างภายนอก
ของลำ�ต้น พร้อมกับเน้นให้นักเรียน บันทึกผลการสังเกตลักษณะภายนอกของลำ�ต้น
เปรียบเทียบระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในรูปแบบของตาราง
ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตารางบันทึกลักษณะภายนอกของลำ�ต้นถั่วเขียวและข้าวโพด
ลักษณะภายนอก
ลำ�ต้นถั่วเขียว
ลำ�ต้นข้าวโพด
1. ข้อและปล้อง
เห็นไม่ชัดเจน
เห็นได้ชัดเจน
2. ตำ�แหน่งที่เกิดใบ และ
ตาตามซอก
เกิดใบอยู่ตรงข้อบริเวณที่มีก้านใบ
ติดอยู่ ซอกใบมีตาตามซอกซึ่งต่อไป
จะเจริญเป็นกิ่งหรือดอก
เกิดใบอยู่ตรงข้อ โดยมีก้านใบซึ่ง
เปลี่ยนแปลง ไปเป็นกาบใบหุ้ม
บริเวณข้อ ไม่เห็นตาตามซอกโผล่
ออกมา และไม่ค่อยมีการแตกกิ่ง
3. ผิว สีของลำ�ต้น และ
รูปร่างของลำ�ต้น
ผิวของลำ�ต้นขรุขระ มีขน สีของ
ลำ�ต้นอาจมีสีเขียวหรือมีสีอื่นปน
รูปร่างของลำ�ต้นค่อนข้างกลม
ผิวของลำ�ต้นเรียบ สีของลำ�ต้นมีสี
เขียว รูปร่างของลำ�ต้นค่อนข้างกลม
หรือรี
ครูและนักเรียนใช้ลำ�ต้นจริงของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เลือกศึกษาโครงสร้าง
ภายนอก เพื่อร่วมกันสรุปเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของลำ�ต้นที่สังเกตได้
ปลายยอดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบอ่อนขนาดเล็กซ้อนกันอยู่หุ้มยอดอัดกันแน่น ส่วนปลายยอด
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบอ่อนขนาดเล็กซ้อนกันอยู่โดยมีใบม้วนตามยาวหุ้มยอด
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
76