Table of Contents Table of Contents
Previous Page  84 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 84 / 302 Next Page
Page Background

ให้นักเรียนยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากรากพืช โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของราก

เพื่ออธิบายเหตุผลว่า เพราะเหตุใดพืชชนิดดังกล่าวจึงเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในด้านนั้น

การใช้ประโยชน์จากรากหญ้าแฝก

มนุษย์ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงสร้างและการเจริญเติบโตของรากหญ้าแฝก

ที่สามารถเจริญลึกลงไปในดิน ทำ�ให้เกิดเป็นกำ�แพงดินซึ่งช่วยป้องกันการพังทลายของดิน

ดินถล่มจากน้ำ�ท่วมฉับพลัน เนื่องจากรากของหญ้าแฝกมีลักษณะพิเศษต่างจากหญ้าทั่วไป

คือ สามารถเจริญเติบโตตามแนวดิ่งลงไปในดินหรือใต้ดินได้ 2-2.5 เมตร ซึ่งมากกว่า

รากหญ้าคาที่เจริญเติบโตลงไปในแนวดิ่งได้เพียง 50 เซนติเมตร นอกจากนี้การทำ�หน้าที่

ร่วมกันของรากฝอยของหญ้าแฝกที่มี 2 ขนาด ทำ�ให้รากของหญ้าแฝกเกาะดินได้ดี ซึ่งมี

รากฝอยขนาดใหญ่ทำ�หน้าที่เจาะและชอนไชลงดิน ส่วนรากฝอยขนาดเล็กจะเจริญ

แตกแขนงออกมาจากรากฝอยขนาดใหญ่ทำ�หน้าที่เป็นร่างแหช่วยในการยึดเกาะดิน

ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้หญ้าแฝกเป็นพืชที่เหมาะสมแก่การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน

จากน้ำ�ท่วมฉับพลัน

(ที่มา: บทความเรื่อง “หญ้าแฝก” กำ�แพงดินธรรมชาติ ของสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

หรือ สวทช.)

ชวนคิด

เพราะเหตุใดบริเวณของรากที่มีการเติบโตปฐมภูมิสามารถดูดซึมน้ำ�ได้ แต่บริเวณรากที่มี

การเติบโตทุติยภูมิดูดซึมน้ำ�ไม่ได้

เนื่องจากบริเวณของรากที่มีการเติบโตปฐมภูมิ เนื้อเยื่อผิวด้านนอกของรากคือ เอพิเดอร์มิส

และขนรากที่มีผนังเซลล์บางทำ�ให้สามารถดูดซึมน้ำ�ผ่านเซลล์ได้ ส่วนบริเวณรากที่มีการ

เติบโตทุติยภูมิ เนื่อเยื่อผิวด้านนอกของรากเป็นเพริเดิร์มซึ่งด้านนอกสุดของเนื้อเยื่อ

เพริเดิร์มเป็นคอร์ก ประกอบด้วยเซลล์คอร์กเรียงตัวติดกันแน่นหลายชั้นและเซลล์คอร์กที่

เจริญเต็มที่จะไม่มีชีวิตจึงทำ�ให้บริเวณที่มีการเติบโตทุติยภูมิดูดซึมน้ำ�ไม่ได้

ตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

72