ตารางเปรียบเทียบชนิดของเซลล์หรือเนื้อเยื่อและการจัดเรียงเนื้อเยื่อบริเวณรากถั่วเขียว
และข้าวโพดที่มีการเติบโตปฐมภูมิ
ชั้นเนื้อเยื่อ
รากถั่วเขียว
รากข้าวโพด
1. เอพิเดอร์มิส
เอพิเดอร์มิสเรียงเป็นแถวเดียว
ประกอบด้วยเซลล์ผิวและเซลล์
ขนราก
เอพิเดอร์มิสเรียงเป็นแถวเดียว
ประกอบด้วยเซลล์ผิวและเซลล์
ขนราก
2. คอร์เทกซ์
ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา ด้าน
ในสุดพบเอนโดเดอร์มิส
ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา ด้าน
ในสุดพบเอนโดเดอร์มิส
3. สตีล
3.1 เพริไซเคิล
ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาเรียง
เป็นวง 1- 2 แถว
ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาเรียง
เป็นวง 1- 2 แถว
3.2 วาสคิวลาร์บันเดิล กลุ่มเซลล์ในไซเล็ม เห็นเรียงเป็น
แฉกมี 4 แฉก และมีกลุ่มเซลล์ใน
โฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างแฉก
ไซเล็มมีจำ�นวนแฉกมากกว่าพืชใบ
เลี้ยงคู่ นับได้มากกว่า 10 แฉก และ
มีกลุ่มเซลล์ในโฟลเอ็มแทรกอยู่
ระหว่างแฉก
3.3 พิธ
ไม่มี
ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา
เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม
จากการศึกษาโครงสร้างปลายรากตัดตามยาวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
โครงสร้างที่อยู่ปลายสุดของรากคืออะไร มีความสำ�คัญต่อพืชอย่างไร
หมวกราก มีความสำ�คัญต่อพืชคือป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ถัดขึ้นไปขณะที่
รากชอนไชลงสู่ดิน
ถ้าต้องการศึกษาการแบ่งเซลล์ไมโทซิสระยะต่าง ๆ ของปลายรากหอมควรเลือกศึกษาที่
บริเวณใดของโครงสร้างปลายรากตัดตามยาว
บริเวณการแบ่งเซลล์
จากการศึกษาโครงสร้างภายในของรากระยะที่มีการเติบโตปฐมภูมิของรากพืชใบเลี้ยงคู่
และรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เนื้อเยื่อชั้นใดบ้างที่มีลักษณะคล้ายกัน
เอพิเดอร์มิส และคอร์เทกซ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
70