Table of Contents Table of Contents
Previous Page  80 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 80 / 302 Next Page
Page Background

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทำ�กิจกรรมว่า หากดูเปรียบเทียบ

รูปที่เห็นจากสไลด์ถาวรกับรูป 9.13 ซึ่งแสดงปลายรากพืชตัดตามยาวแสดงบริเวณต่าง ๆ แล้ว

พบว่ารูปวาดที่ได้จากการศึกษาสไลด์ถาวรจะเห็นหมวกรากถึงบริเวณการยืดตามยาวของเซลล์

โดยใช้รูป 9.12 ก. ชี้ให้นักเรียนเห็นว่า บริเวณการยืดตามยาวของเซลล์มีความยาวมากทำ�ให้ไม่

สามารถทำ�สไลด์เนื้อเยื่อปลายรากตัดตามยาวจนถึงบริเวณการเปลี่ยนสภาพและเจริญเต็มที่

ของเซลล์ได้ เพราะพื้นที่ของสไลด์และระยะศึกษาของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงที่มีจำ�กัดจึงทำ�ให้

ขนาดของเนื้อเยื่อที่ใช้ศึกษาจำ�กัดไปด้วย ดังนั้นรูปที่ได้จากการศึกษาโครงสร้างปลายรากตัด

ตามยาวจากสไลด์ถาวรจึงไม่เห็นบริเวณการเปลี่ยนสภาพและการเจริญเต็มที่ของเซลล์

ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�ความเข้าใจวิธีการทำ�กิจกรรมตอนที่ 2.2 โครงสร้างภายในของ

รากตัดตามขวาง พร้อมกับเน้นให้นักเรียนพยายามตัดเนื้อเยื่อของรากให้ครบวง และบันทึกผล

โดยการวาดรูปหรือถ่ายรูปโครงสร้างภายในของรากตัดตามขวางที่มีการเติบโตปฐมภูมิที่เห็น

ภายใต้กล้องจุลทรรศน์พร้อมระบุบริเวณต่างๆ และบันทึกรายละเอียดเปรียบเทียบความเหมือน

และความแตกต่างของเนื้อเยื่อแต่ละบริเวณของรากถั่วเขียวและข้าวโพดในรูปแบบตาราง

ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาโครงสร้างภายในของรากตัดตามขวาง จากนั้นครูใช้รูป 9.14

ซึ่งแสดงรากพืชใบเลี้ยงคู่และรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง ระยะที่มีการเติบโตปฐมภูมิ เพื่อ

ร่วมกันสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่และรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีการเติบโต

ปฐมภูมิมีเนื้อเยื่อแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น เหมือนกัน ได้แก่ เอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และสตีล แต่

มีการจัดเรียงของเนื้อเยื่อในชั้นสตีลที่แตกต่างกัน

ระหว่างการทำ�กิจกรรมตอนที่ 2.2 ครูอาจตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยให้นักเรียน

แต่ละกลุ่มเลื่อนหาเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูบริเวณต่างๆ ของโครงสร้างภายในของ

รากระยะที่มีการเติบโตปฐมภูมิ โดยให้นักเรียนในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

ความเข้าใจนี้

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู

วิธีการปิดกระจกปิดสไลด์ไม่ให้มีฟองอากาศทำ�ได้โดยวางขอบกระจกปิดสไลด์ด้านหนึ่งให้

สัมผัสกับสไลด์โดยวางทำ�มุมประมาณ 45º ใช้เข็มเขี่ยช่วยประคองปิดกระจกปิดสไลด์ เพื่อ

ไม่ให้เกิดฟองอากาศ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

68