การเตรียมล่วงหน้า
1. ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษารายละเอียดของกิจกรรม 9.1 โดยเฉพาะวัสดุและอุปกรณ์
และวิธีการทำ�กิจกรรม เพื่อเตรียมการล่วงหน้าก่อนถึงวันทำ�กิจกรรมจริง
2. การเตรียมต้นถั่วเขียวและข้าวโพดอายุ 2 สัปดาห์
ครูมอบหมายให้นักเรียนเพาะถั่วเขียวและข้าวโพดโดยให้นักเรียนปฏิบัติตามวิธีการ
เตรียมในหนังสือเรียน
3. ครูควรฝึกเตรียมสไลด์สดของรากพืชและศึกษาโครงสร้างภายในของรากพืชใบเลี้ยงคู่และ
ใบเลี้ยงเดี่ยวทุกระยะการเจริญเติบโตที่ต้องการศึกษาล่วงหน้าก่อนสอนจริง เพื่อให้เข้าใจ
วิธีการเตรียมสไลด์สดและสามารถสาธิตวิธีการได้อย่างชำ�นาญ โดยอาจสาธิตก่อนเริ่มทำ�
กิจกรรมโครงสร้างภายในของรากตัดตามขวาง หรือหลังจากการศึกษาสไลด์ถาวรของ
โครงสร้างปลายราก นอกจากนี้การศึกษาโครงสร้างตัดตามขวางของรากก่อนสอนจริง
จะช่วยให้ครูสามารถให้คำ�แนะนำ�และตอบคำ�ถามแก่นักเรียนได้อย่างมั่นใจ โดยครูสามารถ
ศึกษาวิธีการตัดเนื้อเยื่อรากตามขวางและวิธีการเตรียมสไลด์สดของรากพืชในหนังสือเรียนได้
แนวการจัดกิจกรรม
ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 9.1 โดยอาจแสดงไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียน และอธิบาย
จุดประสงค์แต่ละข้อกับนักเรียนให้ชัดเจน โดยเน้นว่าเมื่อจบกิจกรรมและการเรียนเรื่อง
โครงสร้างและการเจริญเติบโตของรากแล้ว นักเรียนต้องเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างรากพืช
ใบเลี้ยงคู่และรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวางได้
ครูและนักเรียนร่วมกันทำ�ความเข้าใจวิธีการทำ�กิจกรรมตอนที่ 1 โครงสร้างภายนอกและ
การเจริญเติบโตของราก พร้อมกับเน้นให้นักเรียน บันทึกผลโดยการวาดรูปหรือถ่ายรูปเมล็ดที่
งอกในแต่ละวัน และระบุชนิดรากลงในรูปด้วย
ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาการงอกของเมล็ดถั่วเขียวและเมล็ดข้าวโพด จากนั้นครูใช้
รูป 9.12 ซึ่งแสดงลักษณะของรากพืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกจากเมล็ด เพื่อร่วม
กันอภิปรายผลและสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรากในขณะเจริญเติบโต เพื่อให้นักเรียน
ใช้ข้อมูลประกอบการบันทึกผลการทดลอง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
64