Table of Contents Table of Contents
Previous Page  119 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 119 / 254 Next Page
Page Background

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

หลอดเลือดบริเวณผิวรอบนอกของหัวใจทำ�หน้าที่อะไร

นำ�เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจทั้ง 4 ห้องแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ลักษณะดังกล่าวสัมพันธ์

กับการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างไร

แตกต่างกัน โดยเวนทริเคิลจะมีกล้ามเนื้อหนากว่าเอเทรียม และกล้ามเนื้อหัวใจของ

เวนทริเคิลซ้ายจะหนากว่าเวนทริเคิลขวา ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าเวนทริเคิลซ้ายจะต้อง

ออกแรงบีบตัวมาก เนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ส่วนเวนทริเคิลขวามีกล้าม

เนื้อบางกว่ามีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังปอด ส่วนเอเทรียมขวาและเอเทรียมซ้ายมีกล้ามเนื้อ

บางมาก เนื่องจากทำ�หน้าที่รับเลือดแล้วบีบตัวส่งเลือดลงไปยังเวนทริเคิลเท่านั้น

ลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียมและเวนทริเคิลมีลักษณะอย่างไร ลักษณะดังกล่าวบอกทิศทาง

การไหลของเลือดอย่างไร และถ้าลิ้นเหล่านี้ผิดปกติจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร

ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องของหัวใจ มีลักษณะดังนี้

1.

ลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียมขวากับเวนทริเคิลขวา มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ 3 แผ่น

เรียกว่า ลิ้นไตรคัสปิด ลิ้นนี้จะเปิดเมื่อความดันเลือดในเอเทรียมขวาสูงกว่า

เวนทริเคิลขวา เลือดจึงไหลจากห้องเอเทรียมขวาลงสู่เวนทริเคิลขวา และจะปิดเมื่อ

เลือดในเวนทริเคิลขวามีความดันเลือดสูงกว่าเอเทรียมขวา

2.

ลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียมซ้ายกับเวนทริเคิลซ้ายจะมีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ 2 แผ่น

เรียกว่า ลิ้นไบคัสปิด ลิ้นนี้จะเปิดเมื่อความดันเลือดในเอเทรียมซ้ายสูงกว่า

เวนทริเคิลซ้าย เลือดจึงไหลจากเอเทรียมซ้ายลงสู่เวนทริเคิลซ้าย และจะปิดเมื่อเลือด

ในเวนทริเคิลซ้ายมีความดันเลือดสูงกว่าเอเทรียมซ้าย

ถ้าลิ้นเหล่านี้ผิดปกติ เช่น มีรูรั่วจะทำ�ให้เลือดบางส่วนจากเวนทริเคิลไหลย้อนกลับไป

ยังเอเทรียมขวาหรือเอเทรียมซ้ายส่งผลให้เลือดจากเวนทริเคิลขวาไปปอดได้น้อยลง

เช่นเดียวกับเลือดจากห้องเวนทริเคิลซ้ายไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง

ลิ้นที่โคนหลอดเลือดที่ต่อกับเวนทริเคิลซ้ายและเวนทริเคิลขวามีลักษณะอย่างไร ลักษณะ

ดังกล่าวบอกทิศทางการไหลของเลือดอย่างไร และถ้าลิ้นเหล่านี้ผิดปกติจะมีผลต่อร่างกาย

อย่างไร

มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ รูปครึ่งวงกลม 3 แผ่นวางชนกันเรียกลิ้นนี้ว่า ลิ้นเซมิลูนาร์จะพบ

2 บริเวณ คือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

107