Table of Contents Table of Contents
Previous Page  125 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 125 / 254 Next Page
Page Background

เลือดที่ไหลผ่านหัวใจของปลาเป็นเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนมากหรือน้อย เพราะเหตุใด

เลือดที่ไหลผ่านหัวใจของปลาเป็นเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนน้อย เนื่องจากเป็นเลือดที่มาจาก

ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

จากนั้นครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่าโครงสร้างของหลอดเลือด รวมทั้งโครงสร้างของหัวใจทั้งภายนอก

และภายในที่นักเรียนได้ศึกษาจากกิจกรรม 15.1 นั้นจะมีความสัมพันธ์กับการทำ�งานของหัวใจ ทั้งนี้

หัวใจทำ�หน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยการเต้นของหัวใจที่เกิดจากการหดตัว

และคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นจังหวะ ซึ่งสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้โดยตรงด้วยการ

ฟังที่ใช้สเตตโตสโคปแนบที่อกบริเวณหัวใจ หรือวัดได้จากการหดและคลายตัวของผนังหลอดเลือด

อาร์เทอรีใน 1 นาที ซึ่งเรียกว่า ชีพจร จากนั้นครูให้นักเรียนทดลองจับชีพจรของตนเองบริเวณตำ�แหน่ง

ต่าง ๆ ซึ่งการวัดชีพจรสามารถวัดได้หลายบริเวณ เช่น ข้อมือ ข้อพับ และคอ เพราะเป็นบริเวณที่มี

หลอดเลือดอาร์เทอรีอยู่ใกล้กับผิวหนัง ซึ่งมีวิธีการตรวจวัดโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างหนึ่ง

วางตรงบริเวณที่ต้องการวัดและกดจนรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร ดังรูป

จากนั้นครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ การวัดชีพจร เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ

ชีพจร

บริเวณข้อมือ

บริเวณข้อพับ

บริเวณคอ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

113