จุดประสงค์
1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดขณะปกติและขณะถูกกด และแปลความหมายจาก
ผลที่สังเกต
2. สรุปทิศทางการไหลของเลือดในหลอดเลือดเวน เมื่อเปรียบเทียบกับหลอดเลือดอาร์เทอรี
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
1 ชั่วโมง
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
ผ้าสำ�หรับมัดต้นแขน
1 ผืน
แนวการทำ�กิจกรรม
1. ควรแบ่งกลุ่มในการทำ�กิจกรรมเนื่องจากต้องมีการใช้ผ้ามัดต้นแขน และมีการใช้นิ้วกด
หลอดเลือด และร่วมกันสรุปการทำ�กิจกรรม
2. การใช้ผ้ามัดต้นแขนไม่ควรมัดให้แน่นจนเกินไป
3. อาจไม่ต้องใช้ผ้ามัดต้นแขนก็ได้ แต่ต้องเลือกนักเรียนที่สามารถกำ�มือแล้วเห็นหลอดเลือด
บริเวณข้อพับได้ชัดเจน
เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม
เพราะเหตุใดเมื่อใช้ผ้ามัดต้นแขนแล้ว หลอดเลือดจึงปรากฏชัดเจนขึ้น
เพราะเลือดไหลไปได้น้อยลง เลือดจึงคั่งอยู่ในหลอดเลือดทำ�ให้หลอดเลือดโป่งเห็นชัดเจนขึ้น
การไหลของเลือดในหลอดเลือดที่ปรากฏน่าจะมีทิศทางจากปลายแขนไปยังต้นแขน หรือ
จากต้นแขนไปยังปลายแขน
จากปลายแขนไปยังต้นแขนเพราะเมื่อมัดต้นแขนแล้ว ทำ�ให้หลอดเลือดบริเวณต่ำ�กว่า
ต้นแขนลงมาโป่งออก
กิจกรรม 15.3 ทิศทางการไหลของเลือดในหลอดเลือดเวน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง
ชีววิทยา เล่ม 4
118