Table of Contents Table of Contents
Previous Page  135 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 135 / 254 Next Page
Page Background

พลาสมา

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนเรื่องพลาสมา โดยให้ศึกษารูป 15.13 ในหนังสือเรียน และสังเกตส่วน

ประกอบของเลือดที่ผ่านการปั่นแยก ส่วนที่เป็นของเหลวมีสีเหลืองใสซึ่งเรียกว่า พลาสมา และร่วมกัน

อภิปรายถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของพลาสมา โดยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพลาสมาและซีรัม และให้

นักเรียนเปรียบเทียบกับเมื่อมีบาดแผล บางครั้งจะสังเกตเห็นว่าเมื่อเลือดแข็งตัวแล้วจะมีของเหลวใส

ออกมาจากบริเวณที่เลือดแข็งตัว ของเหลวใสนี้ เรียกว่า ซีรัม ซึ่งไม่มีไฟบริโนเจน ต่อจากนั้นให้นักเรียน

ร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

ซีรัมและพลาสมามีส่วนประกอบแตกต่างกันอย่างไร

ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของซีรัมจะเหมือนกับพลาสมา แต่ซีรัมไม่มีไฟบริโนเจน และสารที่

เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เช่น วิตามิน K แคลเซียม และโพรทรอมบิน

ครูอาจให้นักเรียนร่วมกันสรุปหน้าที่สำ�คัญของเลือด ดังนี้

1. ลำ�เลียงสารต่าง ๆ ผ่านระบบหมุนเวียนเลือด เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

สารอาหารและวิตามินต่าง ๆ ยูเรีย และฮอร์โมน

2. ทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายโดยเซลล์เม็ดเลือดขาว

3. แลกเปลี่ยนของเหลวและสารต่าง ๆ ที่บริเวณหลอดเลือดฝอยทั่วร่างกาย

4. ช่วยในการแข็งตัวของเลือดโดยเพลตเลต

หมู่เลือดและการให้เลือด

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนเรื่องหมู่เลือดและการให้เลือด โดยทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนถึงเรื่อง

หมู่เลือดที่นักเรียนรู้จัก ต่อจากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ ABO หมู่เลือดระบบ

Rh รวมถึงการให้และการรับเลือด เพื่อสรุปให้ได้ว่าหมู่เลือดระบบ ABO จำ�แนกได้เป็นเลือดหมู่ A B

AB และ O ตามชนิดของแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังตาราง 15.1 ในหนังสือเรียน

จากนั้นครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 15.5 แบบจำ�ลองโครงสร้างหมู่เลือดระบบ ABO

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

123