Table of Contents Table of Contents
Previous Page  128 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 128 / 254 Next Page
Page Background

การวัดชีพจรสามารถวัดจากหลอดเลือดเวนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ไม่ได้ เนื่องจากความดันเลือดในหลอดเลือดเวนต่ำ�มากมีผลทำ�ให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดเวน

หดตัวและคลายตัวน้อย จึงไม่สามารถวัดชีพจรได้

ถ้าร่างกายได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียเลือดมาก การไหลเวียนของเลือดในร่างกายจะเป็นอย่างไร

การไหลเวียนของเลือดจะช้าลง เนื่องจากเลือดที่มีปริมาณน้อยลงส่งผลต่อความดันเลือดลดลง

จากนั้นครูนำ�เข้าสู่บทเรียนเรื่อง ความดันเลือด ซึ่งควรสรุปได้ว่า การที่เลือดไหลไปตาม

หลอดเลือดได้เพราะมีความดันและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าความดันเลือดในหลอดเลือดต่าง ๆ

เท่ากันหรือไม่ จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความดันเลือดในหลอดเลือด การวัดความดันเลือด

และค่าความดันเลือด โดยครูใช้รูปที่แสดงค่าความดันเลือดในหลอดเลือดต่าง ๆ ดังรูป 15.10 ใน

หนังสือเรียนและครูอาจสาธิตการวัดความดันเลือดโดยใช้เครื่องมือหรืออาจให้นักเรียนทดลองวัด

ความดันเลือดของเพื่อน

นอกจากนี้ครูอาจเสริมความรู้ให้กับนักเรียนดังนี้

ความดันเลือดสามารถวัดได้จากหลอดเลือดอาร์เทอรีที่ใกล้หัวใจ เช่น บริเวณต้นแขน

ความดันเลือดในหลอดเลือดอาร์เทอรีขนาดต่าง ๆ จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะห่างจากหัวใจ

ขณะนอนความดันเลือดบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ศีรษะถึงเท้าจะใกล้เคียงกัน แต่ขณะยืน

ความดันเลือดบริเวณขาจะสูงมากที่สุด บริเวณศีรษะจะน้อยที่สุด เนื่องจากการไหลของเลือดจะไหล

ไปในทิศทางเดียวกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้ดีกว่าทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก

ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในรูป 15.11 การวัดความดันเลือดและค่าความดันเลือดของมนุษย์

ที่มีอายุและเพศต่างกันและนำ�ข้อมูลความดันซิสโทลิกมาเขียนเป็นกราฟ สุ่มเลือกตัวแทนนำ�กราฟ

มาเสนอหน้าชั้นเรียน และให้ทุกคนร่วมกันอภิปราย โดยใช้คำ�ถามดังนี้

คนที่มีอายุมากขึ้นจะมีความดันเลือดเป็นอย่างไร

ความดันเลือดจะสูงขึ้น

เพศหญิงและเพศชายมีความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ต่างกันในบางช่วงของอายุ วัยหนุ่มสาวเพศชายจะมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง และช่วง

อายุ 45 ปีขึ้นไป เพศหญิงจะมีความดันเลือดสูงกว่าเพศชาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

116