Table of Contents Table of Contents
Previous Page  122 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 122 / 254 Next Page
Page Background

จุดประสงค์

1. สังเกตและอธิบายทิศทางการไหลของเลือดและการเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดในหางปลา

2. สรุปความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและขนาดของหลอดเลือดกับความเร็วในการไหลของเลือด

เวลาที่ใช้

(โดยประมาณ)

1 ชั่วโมง

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ

ปริมาณต่อกลุ่ม

1. ปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาหางนกยูงเพศเมีย ลูกปลานิล หรือลูกอ๊อด

2. สำ�ลี

3. น้ำ�

4. สไลด์และกระจกปิดสไลด์

5. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ

1 ตัว

2 ก้อน

50 mL

1 ชุด

1 กล้อง

ข้อแนะนำ�สำ�หรับครู

1. ครูแนะนำ�ให้นักเรียนนำ�ปลาขนาดเล็กและแข็งแรงมาศึกษา เช่น ปลาหางนกยูง ลูกปลานิล

และลูกปลากระดี่ เป็นต้น สำ�หรับปลาหางนกยูง ให้นำ�เพศเมียมาศึกษาเพราะบริเวณ

หางปลาเพศเมียมีเม็ดสีน้อย นอกจากนี้อาจใช้สัตว์อื่นๆ เช่น ลูกอ๊อด มาศึกษาก็ได้

2. ครูควรแนะนำ�นักเรียนว่าในขณะที่วางปลาบนสไลด์ต้องให้ความชุ่มชื้นบริเวณหัวและเหงือก

ตลอดเวลา ด้วยการใช้สำ�ลีชุบน้ำ�วางบนส่วนหัว เวลาที่ศึกษาแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 3

นาที เพราะปลาอาจจะตาย ควรปล่อยลงน้ำ�สักครู่แล้วจึงนำ�มาศึกษาใหม่ เมื่อศึกษาเสร็จ

แล้วนำ�ปลาไปปล่อยในแหล่งน้ำ�

3. ครูควรให้นักเรียนสังเกตทิศทางการไหลของเลือด โดยเน้นว่าภาพที่ศึกษาภาย

ใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นภาพเสมือนหัวกลับ ดังนั้นทิศทางการไหลของเลือดที่

สังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์จึงเป็นทิศทางตรงข้ามกับของจริง เพื่อให้ได้ข้อ

สรุปว่า เลือดในหลอดเลือดอาร์เทอรีจะไหลจากทางด้านโคนหางไปยังด้าน

ปลายหาง ส่วนในหลอดเลือดเวนเลือดจะไหลจากด้านปลายหางไปยังด้าน

โคนหาง

กิจกรรม 15.2 การหมุนเวียนเลือดของปลา

ipst.me/9203

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

110