5.2 เพราะเหตุใดระดับแอนติบอดีสูงสุดในเลือดของเส้นกราฟ ก. ที่ช่วงเวลาหมายเลข 1
และหมายเลข 2 จึงต่างกันและระยะเวลาในการตอบสนองหลังจากได้รับแอนติเจน A
ในแต่ละช่วงเวลาจึงไม่เท่ากัน
เพราะที่ช่วงเวลาหมายเลข 1 เมื่อแอนติเจน A เข้าสู่ร่างกายครั้งแรก จะกระตุ้นให้มี
การตอบสนองต่อแอนติเจนครั้งแรก ซึ่งจะตรวจพบแอนติบอดีประมาณวันที่ 7 และ
มีการตอบสนองสูงสุดประมาณวันที่ 15 ในขณะที่เมื่อได้รับแอนติเจน A ครั้งที่ 2 จะ
ตรวจพบแอนติบอดีหลังได้รับแอนติเจนและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีการตอบสนอง
สูงสุดภายในประมาณ 7 วันซึ่งทั้งเร็วและสูงกว่าเมื่อได้รับแอนติเจนครั้งแรกมาก
โดยเซลล์บีที่จำ�เพาะต่อแอนติเจนA เพิ่มจำ�นวนและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พลาสมา
ทำ�หน้าที่สร้างแอนติบอดีที่จำ�เพาะต่อแอนติเจนชนิดนี้ ขณะเดียวกันเซลล์บีบางเซลล์
จะพัฒนาเป็นเซลล์ความจำ�จำ�นวนมากทำ�หน้าที่จดจำ�แอนติเจนชนิดนี้ไว้ เซลล์ความจำ�
นี้มีอายุมากกว่าเซลล์พลาสมา ในการตอบสนองต่อแอนติเจนครั้งแรกจะใช้ระยะเวลา
ค่อนข้างนานเนื่องจากเซลล์บีที่ตอบสนองมีจำ�นวนน้อยจึงทำ�ให้โอกาสที่แอนติเจน
จะพบเซลล์บีที่จำ�เพาะต่อแอนติเจน A ใช้เวลานาน ระดับการตอบสนองต่ำ� และระดับ
แอนติบอดีสูงสุดในเลือดไม่สูงมากนัก ส่วนที่ช่วงระยะเวลาหมายเลข 2 เมื่อได้รับ
แอนติเจน A เดิมอีกครั้ง จะกระตุ้นให้เซลล์ความจำ�ซึ่งมีอยู่จำ�นวนมากพัฒนาเป็น
เซลล์พลาสมาจึงสร้างแอนติบอดีได้รวดเร็ว และมีปริมาณมาก
5.3 เพราะเหตุใดในช่วงเวลาหมายเลข 3 ของเส้นกราฟ ข. จึงมีการตอบสนองคล้ายกับ
ในช่วงเวลาหมายเลข 1 ของเส้นกราฟ ก.
ในช่วงเวลาหมายเลข 3 ร่างกายได้รับแอนติเจน B ซึ่งแตกต่างจากแอนติเจน A ทำ�ให้
ระบบภูมิคุ้มกันเกิดการตอบสนองครั้งแรกต่อแอนติเจน B
6. ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะมีความเสี่ยงอย่างไร เพราะเหตุใดแพทย์จึงต้องให้ผู้ป่วย
รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
มีความเสี่ยงคือ ร่างกายผู้ป่วยอาจไม่ยอมรับอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายซึ่งจัดเป็น
สิ่งแปลกปลอม และอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อต้านอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย
ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่าย ซึ่งทำ�ให้
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยลดลงและติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
176