Table of Contents Table of Contents
Previous Page  260 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 260 / 284 Next Page
Page Background

12. การผลิตไวน์ผลไม้ในประเทศไทยนิยมนำ�ยีสต์

Saccharomyces cerevisiae

มาใช้เป็น

หัวเชื้อในกระบวนการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ กระบวนการหมักไวน์จะทำ�ในภาชนะ

ปิดสนิทเพื่อไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปภายในระบบ และจะหมักไว้จนกว่าน้ำ�ตาลใน

ผลไม้ถูกใช้ไปจนเกือบหมดและได้ปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 10-14 % โดยปริมาตร

จึงจะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการหมักไวน์

จากตารางการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่าง ๆ ระหว่างการหมักไวน์ผลไม้เป็นระยะเวลา

14 วัน จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้

เวลา

การหมัก

(วัน)

ปริมาณน้ำ�ตาล

(องศาบริกซ์*)

ปริมาณยีสต์

(

×

10

7

เซลล์ต่อ mL)

ปริมาณแอลกอฮอล์

( % โดยปริมาตร)

0

22.5

0.20

0

2

20.0

0.88

1.6

4

14.5

5.60

11.6

6

10.7

9.20

12.9

8

8.0

11.30

13.7

10

8.0

9.65

13.9

12

7.8

8.80

13.9

14

7.8

8.85

13.9

(* ตัวเลขที่มากในหน่วย องศาบริกซ์ แสดงว่ามีน้ำ�ตาลมาก)

12.1 เพราะเหตุใดจึงมีปริมาณแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างมากในวันที่ 4 ของการหมักแต่พบ

ได้น้อยมากในช่วง 2 วันแรกของการหมัก

ในช่วง 2 วันแรกจำ�นวนเซลล์ยีสต์ยังมีน้อย และมีออกซิเจนเพียงพอทำ�ให้เกิดการ

สลายน้ำ�ตาลเพื่อสร้างเป็นพลังงานในการแบ่งเซลล์ของยีสต์ ส่วนในวันที่ 4 มีจำ�นวน

เซลล์ยีสต์เพิ่มขึ้นมาก ออกซิเจนถูกใช้ไปจนเหลือน้อย ยีสต์จึงสลายน้ำ�ตาลโดย

กระบวนการหมักและผลิตแอลกอฮอล์ปริมาณมาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

248