6.4 สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับความถี่ของแอลลีลในกลุ่มประชากรของ
สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดนี้ในบริเวณดังกล่าวโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำ�ให้เกิด
วิวัฒนาการระดับจุลภาคได้อย่างไร
เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติขึ้นกับประชากรของสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดนี้ในบริเวณดัง
กล่าว ซึ่งอาจเกิดจากการถูกล่าโดยผู้ล่าซึ่งกินสัตว์ชนิดนี้เป็นอาหาร ในสภาพแวดล้อม
ที่เป็นทุ่งหญ้าและมีพุ่มไม้เตี้ยๆ สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดนี้ที่มีลักษณะเขายาวและแตกแขนง
อาจไม่สามารถซ่อนตัวจากผู้ล่าได้ ทำ�ให้ถูกล่าจนมีจำ�นวนลดลง ส่งผลให้ความถี่ของ
แอลลีล
A
ในประชากรรุ่นต่อ ๆ มาลดลง ในขณะที่สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดนี้ที่มีลักษณะ
เขาสั้นและไม่มีเขาสามารถหลบรอดจากการล่าได้ดีกว่า ความถี่ของแอลลีล
a
ใน
ประชากรรุ่นต่อๆ มาจึงเพิ่มขึ้น
7. Ellis-Van Creveld syndrome เป็นภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากแอลีลด้อยบน
โครโมโซมคู่ที่ 4 ของมนุษย์ มีลักษณะนิ้วเกิน แคระ แขนขาสั้น มีฟันผิดปกติแต่กำ�เนิด มี
โครงหน้าผิดรูป และเป็นโรคหัวใจ พบผู้เป็นโรคประมาณ 1 คนต่อประชากร 60,000 คน
แต่ในกลุ่ม Old Order Amish ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบความถี่ของโรคนี้สูงถึงประมาณ
1 ใน 2,000 คน บรรพบุรุษของกลุ่ม Amish ย้ายมาจากทวีปยุโรปและเริ่มมาตั้งถิ่นฐานใน
ศตวรรษที่ 18 โดยประชากรเริ่มต้น 1 ใน 30 คนเป็นโรคดังกล่าว กลุ่ม Amish มีความเคร่ง
ด้านศาสนาและมีการแต่งงานภายในกลุ่มเท่านั้น
7.1 ความถี่ของแอลลีลที่ทำ�ให้เกิดโรค Ellis-Van Creveld syndrome ในกลุ่ม Old Order
Amish อยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กหรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่อยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก เพราะในกลุ่มประชากรนี้ สมาชิกมีการเลือก
คู่อย่างเจาะจง (การเลือกคู่ไม่เป็นแบบสุ่ม) ผู้ที่แสดงอาการของโรคมีโอกาสที่จะ
แต่งงานน้อยกว่าผู้ไม่แสดงอาการ และมีโอกาสส่งต่อแอลลีล ที่ทำ�ให้เกิดโรคไปยังรุ่น
ลูกหลานได้น้อยลงความถี่ของแอลลีลในรุ่นต่อๆ ไปจึงมีการเปลี่ยนแปลง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
249