Table of Contents Table of Contents
Previous Page  49 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 49 / 367 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

39

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์

สภาวิจัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (National Research

Council, NRC) ได้สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ แล้วเรียบเรียง

และเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ มีชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้อย่างไร: สมอง จิตใจ

ประสบการณ์ และโรงเรียน (How People Learn: Brain, Mind, Experience,

and School) ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนใน ๓ วิชา ได้แก่

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ผู้เรียบเรียงได้ระบุว่าในการเรียนรู้

วิชาต่าง ๆ ของมนุษย์ทุกเพศและวัยจะขึ้นอยู่กับหลักการเรียนรู้ ๓ ประการ ซึ่งผู้

เรียบเรียงได้นำ�เสนอผ่านการเรียนรู้ของปลาน้อย ณ สระน้ำ�แห่งหนึ่ง จากนิทาน

เรื่อง ปลาก็คือปลา (Fish is Fish) ที่ประพันธ์โดยลีโอ ไลออนี (อ้างอิงไว้ใน Donovan

& Branford, 2005) เนื้อหาโดยสังเขปมีดังนี้

ปลาก็คือปลา โดย ลีโอ ไลออนี

วันหนึ่งลูกปลาน้อยกับกบได้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ

นอกสระ กบเล่าให้ปลาน้อยฟังอย่างตื่นเต้นว่า

กบ

:

นี่ๆ เจ้าปลาน้อย ฉันกระโดดออกไปเที่ยวข้างนอก

มาล่ะ แล้วฉันก็เห็นสิ่งแปลกๆ มากมาย

ปลาน้อย

:

เช่นอะไรบ้างล่ะ

กบ

:

นก… (กบบอกปลาแบบลึกลับนิดๆ)

ปลาน้อย

:

นกเหรอ!

แล้วเจ้ากบก็เล่ารายละเอียดของนกที่ตนพบเห็นมาอย่างตื่นเต้นว่ามี

ปีกสองปีก มีขาสองขาและมีหลากหลายสี ในขณะที่เจ้ากบเล่าไปนั้น ปลาน้อยก็

นึกภาพของนกผ่านความคิดของตนเองซึ่งก็คือปลาตัวใหญ่ที่มีสองปีก

สองขา และมีหลายสี

จากนั้นกบก็เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัว ซึ่งเจ้าปลาน้อยก็จินตนาการ

เป็นปลาที่มีจุดสีขาว-ดำ� มีเขา และเต้านม

ครั้นเมื่อกบเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ เจ้าปลาน้อยก็จินตนาการ

เห็นปลาที่มีสองขา เดินตัวตรงและสวมเสื้อผ้า

ที่มา: Donovan, M. S. & Branford, J.D. (2005). How students

learn science in the classroom, p.2 - 3