การศึกษา Computer Generated Hologram และ การประยุกต์ใช้งานอย่างง่าย
การถ่ายภาพ hologram ด้วยแสงเลเซอร์ (Laser hologram) คือ การบันทึกรูปแบบการแทรกสอด (Interference pattern) ของแสง 2 ขบวน คือ แสงที่มาจากวัตถุ (Object beam) กับ แสงอ้างอิง (Reference beam) ลงบน recording medium โดยการฉายแสงอ้างอิง ที่ตำแหน่งเดิมกับ recording medium อีกครั้งหนึ่ง ก็จะสามารถเห็นภาพวัตถุเป็นแบบ 3 มิติได้ จากการศึกษาการเกิดภาพ 3 มิติ ด้วยวิธีข้างต้น เกิดจากการที่แสงอ้างอิงผ่าน recording medium โดยอาศัยหลักการแทรกสอดและเลี้ยวเบนของแสง เมื่อเรารู้ว่าแสงอ้างอิงมีลักษณะอย่างไร และเราต้องการวัตถุ 3 มิติแบบไหน เราก็จะจะสามารถคำนวณรูปแบบการแทรกสอดบน recording medium, นั้นได้ จากนั้นก็สามารถสร้างรูปแบบการแทรกสอดที่เราคำนวณได้ด้วยวิธี Laser writing หรือ electron Lithography เป็นต้น ซึ่ง hologram ที่ได้นี้ถูกเรียกว่า Computer Generated Hologram (CGH) การประยุกต์ใช้งาน CGH ที่เห็นได้ชัดก็เช่น การสร้างภาพ 3D holographic Television ซึ่งการคำนวณ Interference pattern และการ lithography เพื่อให้ได้ภาพ 3D ที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่ทำยากส่วนที่ง่ายลงมาก็คือการใช้ CGH ในการบังคับลำแสงให้เป็นรูปแบบต่างๆ โดยอาจทำเป็น Lens รวมแสง,กระจายแสงให้เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้งานเป็น Holographic transmitterใน Optical Wireless LANS System หรือการทำ Holographic Solar Concentrator เป็นต้น
-
4887 การศึกษา Computer Generated Hologram และ การประยุกต์ใช้งานอย่างง่าย /index.php/project-biology/item/4887-computer-generated-hologramเพิ่มในรายการโปรด