ฟิสิกส์ของโปงลาง
โครงงานนี้แบ่งการทดลองเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 วัดขนาดความยาวของลูกโปงลาง , ความยาวรอยถาก, เส้นผ่านศูนย์กลาง , ความกว้างของส่วนที่บางที่สุด และระยะเวลาร้อยเชือกวัดจากขอบลูกโปงลางทุกลูก ตอนที่ 2 ตีลูกโปงลางทุกลูกตรงกลางด้วยแรง 0.65 นิวตัน , 0.90 นิวตัน และตรงขอบของรอยถากด้วยแรง 0.65 นิวตัน บันทึกเสียงแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Signal Analyze Toolkit จากการศึกษา พบว่า โปงลางเป็นแหล่งกำเนิดเสียงประเภทแท่งของแข็งยาวปลายอิสระ ส่วนกลางบางกว่าส่วนขอบ โดยเฉลี่ยแล้วลูกโปงลางแต่ละลูกมีความยาวของรอยถากเป็น 0.58 เท่าของความยาว และมีระยะร้อยเชือกวัดจากขอบเป็น 0.21 เท่าของความยาว ซึ่งเป็นตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งบัพของคลื่นเสียงความถี่มูลฐาน เมื่อตีลูกโปงลาง เสียงที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นกรมฮาร์มอนิก แต่ความถี่มูลฐานจะเป็นความถี่เด่นโดยโอเวอร์โทนจะเกิดขึ้นได้ยากเนื่องจากถูกหน่วงเอาไว้ด้วยการตรึง ดังจะเห็นว่าเสียงจากลูกโปงลางบางเสียงจะมีเพียงความถี่เดียวซึ่งเกิดจากลูกโปงลางสั่นด้วยความถี่มูลฐานของการสั่นตามขวาง บางเสียงเกิดโอเวอร์โทนแต่ก็หายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งขั้นเสียงโปงลางมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากบันไดเสียงของดนตรีสากล
-
5046 ฟิสิกส์ของโปงลาง /project-computer/item/5046-2016-09-09-03-28-16เพิ่มในรายการโปรด