ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการแช่เปลือกไข่ในฟลูออไรด์ต่อค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาการกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรคลอริก
ฟลูออไรด์เป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ พบได้ทั่วไปในเปลือกโลก น้ำและอาหารบางชนิดมีฟลูออไรด์ผสมอยู่ด้วย แคลเซียมคาร์บอนเนตเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สร้างความแข็งแรงเช่น กระดูก,ฟัน และเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า ฟลูออไรด์สามารถยับยั้งปฏิกิริยาการกัดกร่อนแคลเซียมคาร์บอนเนตโดยกรดได้ ซึ่งระยะเวลาในการแช่แคลเซียมคาร์บอนเนตในสารละลายฟลูออไรด์มีผลต่อการยับยั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น โครงงานนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการแช่เปลือกไข่ในฟลูออไรด์ต่อ ค่า พลังงานก่อกัมมันต์ ของปฏิกิริยาการกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรคลอริก ที่ระยะเวลาการแช่ต่างๆกัน โดยทำการทดลองศึกษาปฏิกิริยาที่ระยะเวลาการแช่ 0,15,30,45,60,75 และ 90 นาที ในแต่ละการทดลองทำที่อุณหภูมิ 30,50,70 และ 90 องศาเซลเซียส และวัดปริมาตรก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นทุกๆ 5 วินาที จนปฏิกิริยาสิ้นสุด นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาหาค่า พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา พบว่าระยะเวลาการแช่ฟลูออไรด์ของเปลือกไข่ที่มากขึ้นมีผลทำให้ค่าพลังงานก่อกัมมันต์มากขึ้น โดยอัตราการเพิ่มของพลังงานการก่อกัมมันต์ค่อนข้างจะคงที่ ที่ระยะเวลาการแช่ฟลูออไรด์ 60,75 และ 90 นาที และเมื่อนำผลการทดลองมาสร้างสมการถดถอยเพื่อใช้ทำนายค่าพลังงานก่อกัมมันต์จากระยะเวลาในการแช่ฟลูออไรด์ได้สมการดังนี้ Ea = log1.415515 {(t-9.88882924733161)/(9.338x10-6)} เมื่อ Ea คือ ค่าพลังงานก่อกัมมันต์, t คือ ระยะเวลาการแช่เปลือกไข่ในฟลูออไรด์
-
6649 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการแช่เปลือกไข่ในฟลูออไรด์ต่อค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาการกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรคลอริก /index.php/project/item/6649-2016-09-09-03-52-57-6649เพิ่มในรายการโปรด