กล้องจุลทรรศน์
อุปกรณ์สำคัญในการศึกษาสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก คือ กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
การจำแนกประเภทของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscope)
- ใช้แสงขาว (visible light) + เลนส์แก้ว
- มีอากาศในลำกล้อง
- ได้ภาพเสมือนหัวกลับ
- แยกจุด 2 จุดที่ห่างกันน้อยที่สุด 0.2 ไมคอรน
แบ่งเป็น 1. ใช้แสงแบบธรรมดา (compound light microscope)
2. ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope)
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope)
- ใช้ลำอิเล็กตรอน + เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า
- ไม่มีอากาศในลำกล้อง
- ได้ภาพจริงปรากฏบนจอ
- แยกจุด 2 จุดที่ห่างกันน้อยที่สุด 0.1 - 2 นาโนเมตร
แบ่งเป็น 1. แบบส่องกราด (scanning electron microscope : SEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง 3 มิติ
2. แบบส่องผ่าน (transmission electron microscope : TEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง 2 มิติ
สูตรสำคัญเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์
กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ = กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ x กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา
ขนาดจริงของวัตถุ = ขนาดของภาพที่ปรากฏจากกล้องจุลทรรศน์
กำลังขยายของกล้อง
การหาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ = กำลังขยายของเลนส์ต่ำสุด x เส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพต่ำสุด
กำลังขยายของเลนส์ (ขณะที่ศึกษา)
-
7017 กล้องจุลทรรศน์ /lesson-biology/item/7017-2017-05-21-05-20-05เพิ่มในรายการโปรด