พืช GMO
GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organism หมายถึง จุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยใช้หลักการและเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์ คือกระบวนการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกัน และยีนที่ถูกถ่ายทอดไปนั้นสามารถทำงานสร้างโปรตีนได้เช่นเดิม ดังนั้นการถ่ายยีนจึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับยีนนั้นเข้าไปสามารถแสดงลักษณะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ พืชที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไป เรียกว่า พืชตัดต่อยีน (Transgenic plant) และสัตว์ที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไปเรียกว่า สัตว์ตัดต่อยีน
ภาพ พืช GMO
ที่มา https://pixabay.com , breathingaloha
(Transgenic animal) ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างมากในพืช (Transgenic plant) แต่ยังสามารถทำได้อย่างจำกัดใน สัตว์
พืช GMO หรือ พืชดัดแปรพันธุกรรม
คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ พืชดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาจเป็นข้อดีคือ มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปรพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง
ตัวอย่าง พืชดัดแปรพันธุกรรม
สตอเบอรี่ GMOs
เราสามารถทำให้สตอเบอรี่มีลักษณะที่ดีขึ้น โดยสตอเบอรี่ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จะส่งผลให้สตอเบอรี่มีระยะยะเวลาในการเน่าเสียช้า ซึ่งทำให้สามารถสะดวกในการขนส่งเคลท่อนย้าย ส่งผลให้สตอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น หรืออาจส่งผลให้สตอเบอรี่มีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น เป็นต้น
มันฝรั่ง GMOs
เราสามารถทำให้มันฝรั่งมีลักษณะที่ดีขึ้น เมื่อมีการตัดแต่งพันธุกรรมของมันฝรั่งซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ก็มีผลทำให้มันฝรั่งมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการค้นพบวิจัยว่าสามารถ ผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้
ฝ้าย GMOs
เราสามารทำให้ฝ้ายมีลักษณะที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อนำฝ้ายมาทำ GMOs แล้วทำให้ได้ฝ้ายสามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ ด้วยวิธีการใช้ยีนของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) แทรกเข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ฝ้ายสามารถที่จะสร้างโปรตีน Cry 1A ที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ ทำให้ได้ฝ้ายที่สมบูรณ์และทนต่อศัตรูพืช พวกหนอนและแมลงได้
ข้าวโพด GMOs
เราสามารถทำให้ได้ข้าวโพดที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถสร้างสารพิษทำให้แมลงที่มากัดกินข้าวโพดตายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของเมล็ดข้าวโพด จึงสามารถทำให้ข้าวโพดสร้างสารที่เป็นพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดได้ โดยเมื่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดมากัดกินข้าวโพด GMOs แมลงก็จะตายลง
อ้อย GMOs
เราสามารถทำให้อ้อยที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีความต้านต่อสารเคมียาฆ่าแมลงได้ และมีปริมาณน้ำตาลซูโครสในปริมาณที่สูงขึ้น
ข้าว GMOs
เราสามารถทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีความต้านทานต่อสภาพอากาศ สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ ทำให้มีสารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างบีต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่เป็นสารเริ่มต้น (precursor) ของวิตามิน A ได้
พริกหวาน GMOs
เราสามารถทำให้ได้พริกหวานที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้
ข้อดีของ GMOs
ความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในรูปแบบของ GMO ซึ่งเป็นวิทยาการชีววิทยาในระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยทั่วโลกให้ความสำคัญและศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ในด้านต่าง ๆ เช่น โภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข
ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องของการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่เรียกว่า genomic revolution และการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่
ประโยชน์ต่อเกษตรกร
- ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช
- ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ
- ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
- คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร
- การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมยาทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
- พืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อย
- มีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น
ข้อเสียของ GMOs
- สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
- ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ
- สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติ
- ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น
- ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อ
แหล่งที่มา
พืช GMOs คือ อะไร (What is Transgenic Plant ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://www.thaibiotech.info/what-is-transgenic-plant.php
ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Examples of GMOs, Plants). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://www.thaibiotech.info/examples-of-gmos-plants.php
พืชดัดแปรพันธุกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พืชดัดแปรพันธุกรรม
มธุรา สิริจันทรัตน์. ข้อดีและข้อเสียของ GMOs.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html
-
8800 พืช GMO /lesson-biology/item/8800-gmoเพิ่มในรายการโปรด