แสงและกระจก
เลนส์เป็นอุปกรณ์ที่โปร่งใสมีผิวโค้งสองด้านมักจะทำจากแก้วหรือพลาสติกที่ใช้การหักเหของแสงในรูปแบบภาพของวัตถุ กระจกที่มีพื้นผิวโค้งที่ออกแบบมาเพื่อสะท้อนรังสีเพื่อสร้างรูปแบบภาพ ระบบการทำงานของเลนส์หรือกระจกสร้างรูปแบบภาพโดยการรวบรวมรังสีจากวัตถุแล้วทำให้พวกเขามาบรรจบกันหรือกระจายแสงออก ตำแหน่งที่รังสีมาบรรจบกันหรือกระจายแสงจะสร้างภาพ ภาพจริงจะเกิดขึ้นเมื่อรังสีของแสงมาบรรจบกันที่จุดรวม ส่วนภาพเสมือนจะเกิดขึ้นที่จุดตัดของแสงโดยเสมือนเมื่อรังสีของแสงไม่ได้ตัดกันโดยตรง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความเร็วในสุญญากาศคือ 3×108 m/s มีคุณสมบัติ 4 อย่าง คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
การสะท้อนของแสง (Reflection of light)
เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุทึบแสง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ การสะท้อนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะผิววัตถุ
การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก กฎของการสะท้อนกล่าวว่า “เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”
กฎการสะท้อนของแสง (Law of Reflection)
มุมตกกระทบคือมุมที่รังสีตกกระทบ (Incident ray) ทำกับเส้นปกติ (Normal) ของผิวสะท้อน
มุมสะท้อน (Reflected ray) คือมุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ
การสะท้อนของแสงที่มีระเบียบจะได้
1. มุมตกกระทบมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน ( )
2. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นปกติ จะอยู่ในระนาบเดียวกัน
Normal line คือ เส้นปกติ เป็นเส้นที่ลากตั้งฉากกับวัตถุ ตรงตำแหน่งรังสีตกกระทบ
Incident ray คือ รังสีตกกระทบ เป็นแนวการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบวัตถุ
Reflected ray คือ รังสีสะท้อน เป็นแนวการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ
Angle of incidence ( ) คือ มุมตกกระทบ เป็นมุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นแนวตั้งฉาก
Angle of reflection ( ) คือ มุมสะท้อน เป็นมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนและเส้นปกติ
เมื่อฉายแสงลงบนผิวราบเรียบ เช่น กระจกเงา แสงที่สะท้อนออกมาจะเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสง จะได้
การเกิดภาพในกระจกเงาราบ
1. วัตถุเป็นจุดวางอยู่หน้ากระจกเงาราบ การหาระยะ P เป็นวัตถุที่เป็นจุดดังรูป
เมื่อให้ PB คือ รังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกับกระจกเงาราบ และ BQ คือ รังสีสะท้อน ถ้าต่อ QB ไปตัดกับส่วนต่อของ PA ที่จุด P’ ที่เป็นภาพจุด P ดังรูป
2. วัตถุมีขนาดวางอยู่หน้ากระจกเงาราบ วัตถุ PQ มีลักษณะเป็นเส้นตรงและยาว y ดังรูป
ภาพของจุด P และ Q จะอยู่ที่จุด P’ และ Q’
เนื่องจาก PA=AP’ และ QB=BQ’
จากเรขาคณิตจะได้ PQ=P’Q’
y=y’
ตัวอย่าง
ชายคนหนึ่งสูง 180 cm ยืนห่างจากเสาไฟฟ้าต้นหนึ่งเป็นระยะ 3 m บนยอดเสามีดวงไฟเล็กๆ ติดอยู่ปรากฎว่า จะเกิดเงาของตัวเขาบนพื้นมีขนาดความยาวเท่ากับความสูงของเขาพอดี จงหาว่าถ้าเขาเดินไปข้างหน้าอีกเป็นระยะ 2 m เงาของเขาบนพื้นจะมีความยาวเท่าไร
วิธีทำ
หาความสูงเสาไฟฟ้า
หาระยะเงา x เมื่อเดินไปอีก 2 m
ดังนั้นเงาของชายคนนี้บนพื้นมีความยาว 3 m
ตัวอย่าง
กระจกเงาระนาบ 2 บาน วางทำมุมกัน 90o ดังรูป มุมสะท้อนของกระจกบานที่ 2 มีค่ากี่องศา
ทดลองเขียนแนวรังสี
การเกิดภาพในกระจกเงาโค้งทรงกลม
กระจกเงาโค้งทรงกลมเป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม มี 2 ชนิด
กระจกเว้า คือ กระจกที่มีผิวโค้งเว้าเป็นผิวสะท้อนแสง
กระจกนูน คือ กระจกที่มีผิวโค้งนูนเป็นผิวสะท้อนแสง
C คือ จุดศูนย์กลางความโค้งกระจก
R คือ รัศมีความโค้งของกระจก
V คือ จุดกึ่งกลางบนผิวโค้งของกระจก
เส้นแกนมุขสำคัญ คือ เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C ไปยังจุด V
F คือ จุดโฟกัสเป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง C กับ V
ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า
ภาพที่เกิดจากกระจกนูน
สูตรที่ใช้ในการคำนวณการเกิดภาพในกระจกเว้าและกระจกโค้ง
-
7244 แสงและกระจก /lesson-physics/item/7244-2017-06-12-15-21-13เพิ่มในรายการโปรด