รู้จักนักฟิสิกส์
นักฟิสิกส์และผลงานระดับโลก
เซอร์ วิลเลียม ครูคส์ (Sir William Crookes)
เขาเกิดเมื่อปีค.ศ. 1832 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเขาเรียนจบชั้นสามัญ แล้วเขาก็สอบ เข้าเรียนต่อในวิทยาลัย เขาเริ่มสนใจในสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาจึงเลือกเรียน สาขาวิชาเคมี จนสามารถแต่งตำราขึ้นเป็นฉบับแรกในปี ค.ศ. 1851 และเขาได้ค้นพบคุณสมบัติของสารประกอบอินทรีย์เคมีของธาตุเซเลเนียม แต่เขาก็มีความสนใจในวิชา "สเปคโตรสโคปี" มากเช่นกัน จึงหันมา เน้นศึกษาค้นคว้าทางสาขาฟิสิกส์บ้าง
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1861 เขาจึงนำธาตุเซเลเนียมมาศึกษาด้วยวิธีสเปคโตรสโคปี และพบว่ามี เส้นสีเขียวสวยงาม ปรากฎอยู่บนแถบสเปคตรา แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับธาตุอื่น ๆ ที่เคยทดลองมา ปรากฎว่า ไม่เหมือนกันแสดงว่าธาตุนี้เป็นธาตุชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ เขาจึงตั้งชื่อให้ว่า "ธัลเลียม" มีความหมายตามภาษากรีกว่า เขียวขจี
ต่อมาเขาประดิษฐ์เครื่องชั่งที่ละเอียดขึ้นมา และใส่ไว้ในหลอดสูญญากาศ เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากแรงพยุงของบรรยากาศ สำหรับตรวจสอบน้ำหนักอะตอมของธาตุธัลเลียม แต่เขาไม่สามารถตรวจสอบได้ เขาจึงตัดสินใจที่จะศึกษาคุณสมบัติของธาตุธัลเลียมในขณะที่อยู่ในหลอดสูญญากาศด้วย
ในปี ค.ศ. 1875 เขาจึงประดิษฐ์ เรดิโอมิเตอร์ ขึ้น และใส่ไว้ในหลอดสูญญากาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดประจุไฟฟ้า ที่เคลื่อนผ่านอากาศบาง ๆ เพื่อศึกษาเรื่องสูญญากาศ และในปีเดียวกันนี้เขา สามารถปรับปรุงหลอดสูญญากาศที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อใช้ในการศึกษาเรื่อง การแผ่รังสี หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ต่างพากันเรียกหลอดสูญญากาศแบบนี้ว่า "หลอดครู้คส์" และเขายังได้อธิบายเรื่องการแผ่รังสีคาโธดไว้ว่า รังสีมีการเดินทางเป็นเส้นตรง และ มีเงา และการแผ่รังสีมีความแรงพอที่จะหมุนล้อเล็ก ๆ ได้ เมื่อเขาทดลองต่อไป ก็พบว่าเมื่อแผ่ รังสีคาโธดเข้าไปในสนามแม่เหล็ก จะเกิดอนุภาคของประจุไฟฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย เรียกประจุนี้ว่า อิเลคตรอน
ในปี ค.ศ. 1903 เขาได้ประดิษฐ์ สปินทรอริสโคป ขึ้นเพื่อใช้ดู ประกายไฟที่เกิดจากการส่องสว่างของสังกะสีซัลไฟด์เมื่อโดนรังสีแอลฟ่า
เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1919 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford)
ใน ค.ศ. 1906 เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด( Ernest Rutherford ) และคณะได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟา ( เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ซึ่งได้มาจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสี เช่น เรเดียม) ไปที่แผ่นโลหะบาง พบว่าอนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่สามารถผ่านแผ่นโลหะได้ โดยมีการกระเจิง ( การเบนจากแนวการเคลื่อนที่เดิมไปในทิศทางต่างๆกันของอนุภาค การทดลองการกระเจิงของอนุภาคเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม ) น้อยมาก และมีอนุภาคแอลฟาบางอนุภาคกระเจิงจากแนวเดิมเป็นมุมกว้างและมีบางตัวสะท้อนกลับทางเดิม ทำให้รัทเธอร์ฟอร์ดสรุปว่า ในอะตอม อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกควรรวมกันอยู่ในปริมาตรเล็กๆที่ศูนย์กลาง จากการค้นพบนี้ทำให้รู้ว่าแบบจำลองอะตอมของทอมสันไม่ถูกต้อง
รัทเธอร์ฟอร์ดจึงได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นใหม่ว่า อะตอมประกอบด้วยประจุไฟฟ้าบวกที่รวมกันอยู่ที่ศูนย์กลาง เรียกว่านิวเคลียส ซึ่งถือว่าเป็นที่รวมมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆนิวเคลียส ด้วยระยะห่างจากนิวเคลียสมาก เมื่อเทียบกับขนาดของนิวเคลียส และระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนจึงเป็นที่ว่าง
เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด ยังมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมอิเล็กตรอนจึงวนรอบนิวเคลียสได้ โดยไม่สูญเสียพลังงาน และทำไมประจุไฟฟ้าบวกจึงรวมกันอยู่ภายในนิวเคลียสได้ ทั้งๆที่มีแรงผลักเนื่องจากประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน จึงทำให้นักฟิสิกส์พยายามหาแบบจำลองอะตอมขึ้นใหม่
วิลเฮล์ม คอนแรด เรินต์เกน (Wilhelm Conrad Roentgen)
เขาเกิดในปี ค.ศ.1845 ที่เมืองเลนเนป ประเทศเยอรมนี เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ทาง สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1869 จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริช ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นเขา ชอบวิชาไฟฟ้า วิชาความร้อน และวิชาความยืดหยุ่นมาก
ในปี ค.ศ.1885 เขาได้เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาฟิสิกส์ ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัย Wurzburg ใน ระหว่างนั้นเขาได้ทราบข่าว เรื่องที่มีผู้ค้นพบรังสีคาโธด จึงเกิดความสนใจ และสงสัยว่า รังสีคาโธดที่มีผู้ค้น พบนั้นสามารถแผ่ออกมานอกหลอดแก้วได้หรือไม่ และนอกจากรังสีคาโธดที่ค้นพบแล้ว ยังมีสิ่งใดเกิดขึ้นอีก ในการทดลองนั้น จึงทำการทดลองเพื่อขจัดข้อสงสัย
เมื่อหนังสือพิมพ์ทราบข่าวจึงได้ตีพิมพ์เผยแพร่ เรื่องราวเกี่ยวกับการทดลองของเขา ทำให้เขามีชื่อ เสียงโด่งดังไปทั่วโลก ผลงานของเขาเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์หลายแขนง ได้แก่ วงการแพทย์ ใช้ในการ ตรวจร่างกาย ตรวจรากฟัน ตรวจกระดูก และการผ่าตัด ในวงการวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับตรวจดูผลึกของ ธาตุ ส่วนวงการอุตสาหกรรม ใช้ตรวจดูรอยต่อของการเชื่อมโลหะ และตรวจดูเนื้อโลหะชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
ทำให้เขาได้รับรางวัลจากผลงานดีเด่นทางสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1896 และได้รับเชิญให้ไปเป็น ศาสตราจารย์ สาขาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมิวนิช ในปี ค.ศ.1900 ในปีต่อมา (ค.ศ.1901) เขาได้รับ รางวัลโนเบิลไพรซ์ (Nobel Prize) ทางสาขาฟิสิกส์เป็นคนแรก
เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ.1923 ที่เมืองมิวนิช ประเทศเยอรมนี
ซึ่งได้ผลการทดลองว่า ถ้าใช้หลอดแก้วบาง ๆ รังสีจะแผ่ออกมาภายนอกได้ ถ้าใช้หลอดแก้วหนารังสี จะแผ่ออกมาไม่ได้ และพบว่ามีรังสีชนิดอื่นแผ่ออกมาภายนอกหลอดแก้วด้วย รังสีชนิดนี้สามารถผ่านแผ่น ยาง และแผ่นโลหะบาง ๆ ได้ แต่เขาก็ไม่ทราบว่ามันคือรังสีอะไร จึงตั้งชื่อให้ว่า รังสีเอ็กซ์ (x-ray) หลัง จากนั้นเขาจึงทำการทดลองฉายรังสีเอ็กซ์ผ่านสิ่งของ และสิ่งมีชีวิต โดยเอาแผ่นฟิล์มใส่ไว้ในกล่องกระดาษ สีดำสนิท และเอาปืนวางไว้บนกล่อง แล้วจึงปล่อยรังสีเอ็กซ์แผ่ออกมา เมื่อนำฟิล์มไปล้าง บนฟิล์มจะ ปรากฎเป็นรูปปืนกระบอกนั้นที่มีรายละเอียดชัดเจนดีมาก
การทดลองต่อมาเขาทำตามขั้นตอนเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้มือวางบนกล่องสีดำที่บรรจุฟิล์มไว้ภายใน แทนการใช้ปืน และเมื่อเอาฟิล์มมาล้าง จะได้ภาพของกระดูกนิ้วมือเป็นสีขาวอยู่บนแผ่นฟิล์มอย่างชัดเจน ทำให้เขาอธิบายได้ว่า รังสีเอ็กซ์นี้ ไม่สามารถส่องผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่น มากได้ จึงทำให้ฟิล์มที่ล้าง ออกมามีส่วนที่เป็นสีขาวตามลักษณะรูปร่างของวัตถุที่เป็นต้นแบบ เนื่องจากฟิล์มส่วนที่โดนแสงนั้น เมื่อ ล้างออกมาแล้วจะเป็นสีดำตามหลักของการถ่ายภาพ เมื่อเขาได้ทำการทดลองต่อไปหลาย ๆ ครั้ง จึงสรุป ได้ว่า ธาตุที่มีมวลมาก จะดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ได้ดีกว่าธาตุที่มีมวลน้อย หลังจากนั้นเขาจึงออกแบบ และสร้าง หลอดรังสีเอ็กซ์ ขึ้น
กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei)
เกิด ในปี ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซาในขณะที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเมืองปิซ่าบิดาของเขา ขอร้องให้เขาเรียนวิชาแพทย์ แต่เขาก็มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร ์และนักคณิตศาสตร์ ดังนั้นเขาจึงสนใจศึกษาวิชาคณิตศาสตร์จนกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงไปอีกคน
ในปี ค.ศ. 1585 เขาได้พิมพ์ผลงานเรื่องตาชั่งที่เรียกว่า Hydrostatic Balance และเรื่องจุดศูนย์ถ่วงของของ แข็ง (Center of Gravity of Solid)
ปี ค.ศ.1589 เขาสร้างเครื่องมือวัดการเต้นของชีพจรโดยอาศัยหลักการแกว่งของลูกตุ้มที่เขาค้นพบว่าลูกตุ้มจะใช้เวลาใน การแกว่งเท่ากันไม่ว่าเชือกที่แขวนลูกตุ้มจะสั้นหรือยาว
เมื่อเขาจบการศึกษาก็ทำงานเป็นศาสตราจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัยปิซ่าและในระหว่างที่เขาได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ใน
มหาวิทยาลัยปิซ่าและเขาได้ทำการทดลองเพื่อคัดค้านทฤษฎีของอริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักน้อยจะตกถึงพื้นได้ช้ากว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งประสบผลสำเร็จนั่นคือเขาสามารถทำให้ ประชาชนทุกคนเห็นว่าวัตถุที่มีน้ำหนักต่างกันจะตกถึงพื้นพร้อมกัน
ต่อมาเขาได้ค้นพบอีกว่าขณะที่วัตถุตกสู่พื้นนั้นจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นทุกวินาทีหลังจากนั้นเขาก็เริ่มการทดลองใหม่ๆ ต่อไป และพบว่าวิถีกระสุนของปืนใหญ่เคลื่อนที่เป็น เส้นโค้งจึงนับได้ว่ากาลิเลโอ เป็นบิดาแห่งวิชากลศาสตร์
ในปี ค.ศ. 1609 ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่เมืองเวนิส เขาได้ข่าวมาว่ามีผู้สร้างกล้องที่ประกอบด้วยเลนซ์ชิ้นประกอบกัน และเมื่อ ใช้ส่องดูวัตถุที่อยู่ไกล จะทำให้เห็นภาพเสมือนกับว่าวัตถุนั้น อยู่ใกล้เขา จึงเกิดความคิดในการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้น และได้ ศึกษาค้นคว้าจนเป็นผลสำเร็จ จึงได้มีกล้องโทรทรรศน์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1615 ต่อมาในปี 1636 เขาได้เขียนหนังสือ เกี่ยวกับการค้นคว้าทดลองทางกลศาสตร์ขึ้นจำหน่าย ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชนส่วนมาก ในบั้นปลายของชีวิต เขาถ่ายทอดวิชา ความรู้ให้กับเทอร์ริเซลลีและวิเวียนนิ
เขาเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1642 ที่เมืองปิซาประเทศอิตาลี
ยอร์จ ไซมอน โอห์ม (George Simon Ohm)
โอห์มเกิดในปี ค.ศ. 1787 ที่เมือง เออร์แลงเกน (Erlangen) ประเทศเยอรมัน เมื่อโตขึ้นเขาก็ทำงานไปพร้อมกับศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ และค้นคว้าหาความรู้ ด้วยตน เองจนได้เข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยถึงระดับปริญญาเอก
ในปี ค.ศ. 1822 เขาได้อ่านบทความเกี่ยวกับความร้อนที่ไหลผ่านตัวนำอย่าง ละเอียด ทำให้ เขาสนใจที่จะทำการทดลองเรื่องการไหลของกระแสไฟฟ้าในเส้น ลวดตัวนำ ดูบ้าง เพระเห็นว่ามีแนวคิดใกล้เคียงกับเขา หลังจากนั้นเขาก็ สรุปได้ ว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลในเส้นลวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1. วัสดุที่นำมาทำเส้นลวด
2. ความยาวของเส้นลวด
3. พื้นที่หน้าตัดของเส้นลวด
เมื่อเขาได้ทดลองต่อไปก็พบว่า ถ้าตัวนำมีอุณหภูมิสูงขึ้นกระแสไฟฟ้าจะ ไหล ได้น้อยลง และที่ตัวนำถ้ามีความต่างศักดิ์ไฟฟ้าระหว่าง 2 จุดมากขึ้นเท่าใด กระแส ไฟฟ้าก็จะไหลได้มากขึ้นเท่านั้น เขาจึงตั้งขึ้นเป็นกฎที่เราจะรู้จักกันใน ชื่อว่า กฎของโอห์ม ซึ่งจะเป็นการคำนวณหาความต้านทานของลวดตัวนำ
ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ที่ University of Munich และได้ผลิตผลงานออกมาตลอดเวลา เช่น การควบคุม เสียงในอาคารให้สามารถฟังได้ชัดเจน และผลงานชิ้นสุดท้ายคือ การค้นคว้า เรื่องแสง ที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลก หรือที่เรียกว่าแสงเหนือและแสงใต้ และเพื่อเป็นการยก ย่องโอห์มชื่อของเขาได้ถูกนำมาใช้เรียกหน่วยของความต้านทาน ตามกฎของโอห์ม
เขาเสียชีวิตในปีค.ศ. 1854
เบนจามิน ธอมป์สัน (Benjamin Thompson)
เขาเกิดในปีค.ศ. 1753 ที่เมืองโวเบอร์น สหรัฐอเมริกา เขาทำงานค้าขายตั้งแต่อายุได้ 13 ขวบ และทำงานทุกอย่างที่มีให้เขาทำ ในระหว่างที่เขาทำงานเขาใช้เวลาว่างศึกษาหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และทำการทด ลองต่าง ๆ เขาศึกษาวิชาฟิสิกส์จากเพื่อนรุ่นพี่จนได้ไปทำงานสอนที่ โรงเรียนในเมืองคอนดอร์ด รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (Concord, New Hampshire)
เขาทำการทดลองเกี่ยวกับอำนาจระเบิดของดินปืนโดยเขาดัดแปลงเครื่องมือที่ใช้ยิงระเบิด และ ทำการทดลองจนได้ผลว่าอำนาจความแรงของดินปืนไม่ได้อยู่ที่ก๊าซที่เกิด จากการเผาไหม้ของดินปืนอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความไวของการเผาไหม้ของดิน ปืนด้วย และเขาได้ประดิษฐ์ เครื่องส่งสัญญาณแบบใหม่ให้แก่ทางราชนาวีอังกฤษ ในระหว่างนั้นมีสงครามกู้อิสรภาพขึ้นใน ทวีปอเมริกา เขาจึงต้องไปรับราชการทหารให้กับประเทศ อังกฤษ เนื่องจากเขามาทำงานอยู่ในอังกฤษนานแล้วงานที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในช่วงนี้คือ หมึกพิเศษที่ เขียนแล้วมองไม่เห็น แต่จะสามารถทำให้มองเห็นได้ด้วยวิธีการทางเคมีเพื่อใช้ในงานของสายลับ
เขารับราชการทหารในกองทัพเรือเรื่อยมาจนมียศเป็นนายพันโทแห่งกองทัพสหราช อาณาจักร เมื่อสงครามยุติ เขาก็ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับเจ้าผู้ครองแคว้นบาวาเรีย ประเทศออสเตรีย
เขาทำความดีความชอบจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท่านเคานต์ และให้ใช้ชื่อรัมฟอร์ดตามที่เขาต้องการ ในระหว่างนี้เขาศึกษาเรื่องความร้อน จนได้คำตอบว่า การ เคลื่อนที่ทำให้เกิดความร้อนได้ และยังพยายามหาค่าปริมาณความร้อนที่เกิดจากปริมาณของพลังงานกลจำนวนหนึ่ง ดังนั้นเขาจึง ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการหาความได้เปรียบเชิงกลของความร้อนขึ้น
ในปี ค.ศ. 1799 เขาได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งอังกฤษ และค้นพบว่าน้ำเมื่อเป็นของแข็งและของเหลว จะมีน้ำหนักเท่ากัน ต่อมาเขาได้รวบรวมเงินเพื่อก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้นเพื่อให้บุคคลที่สนใจในวิชา การทางวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาส เข้ามาศึกษาหาความรู้
เขาเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1814 ที่ประเทศฝรั่งเศส
โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle)
เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1627 ที่เมือง Munster ประเทศไอร์แลนด์ ในตระกูลขุนนาง ชั้นสูง ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากหลายประเทศ ในปี ค.ศ. 1641 เขาเดินทางไปเรียนภาษาที่ประเทศอิตาลี่ และได้อ่านตำราของกาลิเลโอ ทำให้เขาสนใจที่จะเป็นนักวิทยา ศาสตร์ จึงหันมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) จนสำเร็จการศึกษา
ในปี ค.ศ. 1654 เขาได้ร่วมมือกับ โรเบิร์ต ฮุค สร้างเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ทด ลองทางฟิสิกส์ และทำการทดลองเรื่องความกดดันของอากาศ และ ก๊าซ รวมถึงปริมาตรของก๊าซด้วย ทำให้เกิด กฎของบอยล์ ขึ้น กล่าวว่า เมื่อ อุณหภูมิคงที่ปริมาตรของก๊าซจะแปรผกผันกับความกดดันเสมอ และ เขายังได้ค้นคว้าเกี่ยวกับความเร็วของเสียง เรื่องของสี เรื่องไฟฟ้า สถิต และ เรื่องของผลึกต่าง ๆ และเขาให้คำจำกัดความของคำว่า ธาตุ คือ สสารที่ไม่สามารถแยก หรือ ทำลายให้เปลี่ยนแปลงได้อีก
เขาเป็นคนแรกที่กล่าวว่า ความร้อนเกิดจากการเคลื่อนที่ของ โมเลกุล และได้พัฒนาเครื่องสูบอากาศที่มีอยู่ ให้ดีขึ้น เขาได้แสดงให้เห็นว่า ไฟฟ้ามีประจุอยู่ 2 ชนิด โดยทดลองจากแท่ง อำพัน และแท่งแก้วที่นำ มาถูกับผ้าขนสัตว์ ได้ผลว่า แท่งอำพัน และ แท่งแก้ว จะดูดกัน แต่ถ้าเป็นแท่งอำพันทั้ง 2 แท่ง หรือแท่งแก้วทั้ง 2 แท่ง มันจะผลักกัน เขาจึงสรุปได้ว่ามีอำนาจไฟฟ้าเกิดขึ้น 2 ชนิด และอำนาจไฟฟ้าทั้ง 2 จะตรงข้ามกัน นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อมา จึงเรียกอำนาจไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิดนี้ว่า ประจุลบ และประจุบวก ถ้าประจุเหมือนกันจะผลักกัน ถ้าประจุต่างกันจะดูดกัน
เขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาการแขนงต่าง ๆ ไว้มากมาย เช่น หนังสือที่ อธิบายว่าธาตุ จะต้องมีเนื้อเดียว หรือเรียกว่าสารเชิงเดียว และจะ ไม่มีสารอื่น ๆ เจือปน อีกเล่มที่น่าสนใจคือ เขาจะกล่าวว่าการจะเชื่อถือสิ่งใด ๆ นั้น จะต้องได้ทดลองค้นคว้าเสียก่อนไม่ใช่หลงเชื่ออย่างงมงาย
เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1691 ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
อีแวนเกลิสตา ทอร์ริเซลลี (Evangelista Torricelli)
เขาเกิดเมื่อ ปีค.ศ. 1608 ที่เมืองฟาเอนซาในอิตาลี ได้รับการศึกษาในวัยเด็ก จากสำนักเยซูอิต เมื่ออายุ 16 ปี เขาได้เข้าไปศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่กรุงโรม และด้วยการชักนำของอาจารย์เขาจึงได้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยของกาลิเลโอ ที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่เขาได้ร่วมงานกันเพียง 3 เดือนเท่านั้น กาลิเลโอก็ถึงแก่กรรม
ทอร์ริเซลลี เป็นบุคคลแรกที่สร้างหลอดสูญญากาศ นักวิทยาศาสตร์จึงตั้ง ชื่อสูญญากาศที่อยู่เหนือลำปรอทในหลอดแก้วว่าสูญญากาศของทอร์ริเซลลี และค้นพบหลักการของเครื่องมือวัดความดันของอากาศที่เรียกว่า บาโรมิเตอร์ ในปี ค.ศ. 1643
ซึ่งสร้างมาจากแนวคิดที่เขาได้ทำการทดลองโดยมีผู้ช่วยคือ วิเวียนนิ จากผลการทดลองทำให้เขา สรุปได้ว่า ความดันบรรยากาศเป็นตัวกำหนดความสูงของของเหลวที่ไหลขึ้นไปในหลอดแก้ว โดยไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของของเหลว นั่นคือ บรรยากาศสามารถดันของเหลวชนิดใดก็ได้ที่อยู่ในหลอดแก้วให้สูงขึ้นไปเท่ากัน และเขาได้ทำการทดลองต่อไปจึงพบว่า อากาศบนพื้นผิวโลกมีความดันไม่เท่ากัน ถ้าอยู่บนพื้นที่สูง ๆ อากาศจะมีความดันต่ำกว่าพื้นที่ราบ และอากาศชื้นจะมีน้ำหนักน้อยกว่าอากาศแห้ง นอกจากนี้ยังพบว่าแสงเดินทางผ่านสูญญากาศได้
เขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบ ในปี ค.ศ. 1647 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
อเลสซานโดร โวลต้า (Alessandro Volta)
เขาเกิดในปี ค.ศ. 1745 ที่ประเทศอิตาลี เมื่อเติบโตขึ้นเขาได้รับการศึกษาจน จบปริญญาตรี และไปเป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ที่โรงเรียนไฮสคูลแห่งหนึ่งในเมือง โคโม ซึ่งเขาเกิดและเติบโตที่นี่
ในปี ค.ศ. 1775 เขาได้ประดิษฐ์เครื่องประจุไฟฟ้าสถิตขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า อิเล็กโทรฟอรัส เพื่อศึกษาทดลองต่อไป หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ประดิษฐ์เครื่อง มือสำหรับเก็บประจุไฟฟ้าขึ้นมา และเขาให้ชื่อว่า "คาพาซิเตอร์" (Capacitor)
ในปี ค.ศ. 1777 เขาประดิษฐ์เครื่องตรวจวัดประจุไฟฟ้าขึ้น เรียกว่า Electroscopes หลังจากนี้เขาก็เดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อหา ความรู้ ทำให้ได้พบนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงสาขาต่าง ๆ หลายคน ต่อมาเขาได้รับเชิญให้ไปเป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์อยู่ที่ มหาวิทยาลัยปาเวีย และเขายังคงทำการค้นคว้าวิจัยในสิ่งที่เขาสนใจต่อไป จน กระทั่งในปี ค.ศ.1800 เขาพบว่า เมื่อนำโลหะ 2 ชนิด มาประกอบเข้ากับของ เหลวอีก 1 ชนิด สามารถทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ จากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น ดังนั้นเขาจึงตั้งทฤษฎีขึ้นว่า "ปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า" เขาจึง ได้ประดิษฐ์เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "โวลเตอิค ไพล์" (Voltaic Pile) หรือ เรียกว่า แบตเตอรี่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นแบตเตอรี่อันแรกของโลก ดังรูป
โดยเขาใช้แผ่น เงิน และแผ่นสังกะสี แทนโลหะ 2 ชนิดดังกล่าว และใช้กระดาษชุบสารละลาย ของเกลือเข้มข้นแทนของเหลว จากผลงานการค้นคว้าของเขาทำให้เขาได้รับรางวัล และเกียรติยศชื่อเสียง มากมาย เนื่องจากเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบความเร้นลับของไฟฟ้า ทำให้ต่อมา มีการค้นคว้าเรื่องไฟฟ้ากันขนานใหญ่ จนทำให้มีการพัฒนาทางด้านพลังงาน ไฟฟ้ามาจนถึงปัจจุบัน และหลังจากที่เขาถึงแก่กรรมไปแล้ว ที่ประชุมของสภาไฟฟ้านานาชาติ (The International Electrical Congress) ได้ลงมติให้เรียกชื่อของหน่วยวัดแรงเคลื่อน ของไฟฟ้าว่า "โวลต์" (Volt) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่โวลตาสืบไป
เขาเสียชีวิต ในปีค.ศ.1827 ที่เมืองอันเป็นบ้านเกิด
โธมัส ยัง (Thomas Young)
เขาเกิดในปี ค.ศ. 1773 ที่เมืองมิลเวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ เขามีความเฉลียวฉลาดตั้งแต่วัยเด็ก เขาเรียนด้านภาษาศาสตร์จนแตกฉาน เขาสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ที่โรงเรียนแพทย์ และไปเรียนแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ในสก็อตแลนด์ มหาวิทยาลัยก็อตตินเจน ในเยอรมัน และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ จนสำเร็จในปี ค.ศ. 1800
ในขณะที่เรียนอยู่นั้นเขาได้ทำการทดลองหลาย ๆ เรื่อง เนื่องจากเขามีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับนัยน์ตา และการมองเห็น จึงจุดประกายให้เขาศึกษาค้นคว้าในเรื่อง "ธรรมชาติของแสง" อย่างละเอียด ทั้งจากหนังสือของฮอยเกนส์ และของนิวตัน โดยพิจารณาจากคลื่นน้ำในทะเลสาบและนำมาปรับใช้กับเรื่องของแสง โดยเจาะรู 2 รู ใกล้ ๆ กัน ที่แผ่นกระดาษแล้วให้แสงส่องผ่านแผ่นกระดาษนั้น ทำให้เกิดแสงจากแหล่ง 2 แหล่ง พบว่า ณ บริเวณที่แสงจาก 2 แหล่ง นี้มารวมกันเกิดความสว่างมากขึ้น เขาจึงสรุปได้ว่าแสงเป็นคลื่น ดังรูป
หลักการของเขายังสามารถอธิบายถึงแถบมืดและแถบสว่างที่เกิดจากแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสง 2 แหล่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีคลื่นแสงของ ฮอยเกนส์ เป็นอย่างดี และได้รวบรวมเขียนเป็นอนุสารขึ้น
เขาเป็นคนแรกที่พบว่า ลักษณะการมองเห็นของสายตาย่อม เปลี่ยนไปตามสภาพของแก้วตา และได้กล่าวว่าการมองเห็นภาพเลือนลางเป็นเพราะกระจกตามีความโค้งไม่คงที่
ในปี ค.ศ.1801 เขาได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายวิชาทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของราชสถาบัน ที่จัดตั้งโดย เบนจามิน ทอมป์สัน
ในปี ค.ศ. 1802 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตร์จารย์ และเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศของราชสมาคมและได้เขียนหนังสือเรื่อง "Natural Philosophy and the Mechanical Art" มีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีของแสง และงานค้นคว้า เรื่องสี เขาได้ให้สูตรเกี่ยวกับแม่สี ทั้ง 3 สี คือสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ไว้เป็นทฤษฎีที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
เขาสนใจเรื่องพลังงานมาก และให้คำจำกัดความของคำว่า "พลังงาน คือ คุณสมบัติของระบบความสามารถที่ทำงานได้" ทั้งยังค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีแคลอริคของความร้อน และได้อธิบายถึงเรื่องความตึงผิวของน้ำ และเรื่องความยืดหยุ่นของสารบางชนิด ที่เราทราบกันในชื่อว่า "ยังโมดูลลัส" ไว้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงเรื่องการแปลภาษาฮีโรกราฟฟิกของชาวอียิปต์ ด้วย
เขาเสียชีวิตที่กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1829
วินเซนโซ วิเวียนนี (Vincenzo Viviani)
วิเวียนนี เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี เขาเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในปี ค.ศ. 1622 เขาเคยรับการศึกษาร่วมกับ ทอร์ริเซลลี ต่อมาได้แยกตัวไปค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ งานที่วิเวียนนีค้นคว้าไว้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเร็วของเสียง แต่ก็เป็นการค้นคว้าสืบต่อจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อน ๆ
ในปี ค.ศ. 1660 วิเวียนนีจึงวัดความเร็วของเสียง ด้วยวิธีการแบบใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 วิธีนี้คือ สังเกตดูแสง และฟังเสียงจากการยิงปืนใหญ่ เขาวัดความเร็วของเสียงได้เท่ากับ 361 เมตรต่อวินาที
ในปี ค.ศ.1703 วิเวียนนี เสียชีวิตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
อังเดร มารี แอมแปร์ (Andre Marie Ampere)
แอมแปร์เกิดในปี ค.ศ. 1775 ที่เมืองโพลีมีเยอร์ (Polemieux) ประเทศฝรั่งเศสหลังจากที่เขา ได้รับการศึกษาในชั้นต้นแล้ว เขาก็เริ่มศึกษาค้นคว้าหาความรู้ แขนงต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยสนใจในสาขาคณิตศาสตร์ และสาขาเคมีเป็นพิเศษ จนกระทั่งเขาได้รับการยกย่องว่ามีความ รู้ทางวิชากลศาสตร์ยอดเยี่ยม จึงได้รับเชิญให้ไปเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และกลศาสตร์ ที่โรงเรียนโป ลีเทคนิคของฝรั่งเศส ต่อมาเขาจึงเริ่มต้นค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ แม่เหล็ก และไฟฟ้า
ในปีค.ศ. 1809 เขาได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาหลายเรื่อง เช่น วิชาแคลคูลัส วิชาแสง วิชาเคมี และ วิชาชีววิทยา จากความสนใจของแอมแปร์ ที่เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของแม่เหล็ก และไฟฟ้า เขา จึงได้ทำการทดลองค้นคว้าจนพบว่า ลวด 2 เส้นที่วางขนานกันจะผลักกันถ้า ผ่านกระแสไฟฟ้าให้ลวดทั้ง 2 เส้นนั้น ในทิศทางเดียวกัน และลวดทั้ง 2 เส้นนั้นจะดูดกันถ้าผ่าน กระแสไฟฟ้าในทิศทางตรงข้ามกัน ดังนั้นเขาจึงให้คำอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของ การเกิดแม่ เหล็กในของแข็งได้ และตั้งขึ้นเป็นกฎที่เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า กฎของแอมแปร์
เขาเป็นคนแรกที่ค้นพบเทคนิคในการวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า และเขาได้สร้างเครื่องมือที่ ใช้สำหรับวัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าขึ้น เรียกว่า กัลวานอ มิเตอร์ (Galvanometer) หลังจากนั้นเขาเริ่มทำการค้นคว้าทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแมเหล็กโลก โดยผ่าน กระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดขนาดใหญ่ ผลคือ ขดลวดนี้ก็มีสภาพเป็นแม่เหล็กด้วย ผลงาน ชิ้นนี้เอง จึงเป็นการบุกเบิกการประดิษฐ์ มอเตอร์ในเวลาต่อมา
เพื่อเป็นเกียรติแก่แอมแปร์ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงลงมติให้ เรียกหน่วยของปริมาณกระแสไฟฟ้าว่า แอมแปร์
เขาเสียชีวิต เมื่อปี ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลส์ ประเทศฝรั่งเศส
เอช.เค. ออนเนส ( H.K. Onnes)
Onnes เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2396 ที่เมือง Groningen ในประเทศเนเธอร์แลนด์ บิดาเป็นเจ้าของโรงงานทำกระเบื้องมุงหลังคา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาได้เข้าศึกษาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Groningen หลังจากได้ศึกษาที่นั่นนาน 1 ปี ก็ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Heidelberg ในประเทศเยอรมนี ณ ที่นั่นเขาได้ศึกษากับ R. Bunsen (ผู้ประดิษฐ์ตะเกียงบุนเซน) และ G.Kirchoff (เจ้าของกฎการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร)
Onnes สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อมีอายุได้เพียง 20 ปี จากนั้นเขาก็ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Groningen โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่องอิทธิพลการหมุนของโลกต่อสภาพการแกว่งกวัดของเพนดูลัมที่ทำด้วยเชือกสั้น และเมื่อใกล้จะเสร็จการทำวิทยานิพนธ์ พระพรหมได้ลิขิตให้ Onnes ได้รู้จักกับ Van der waals นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัย Amsterdam
ในอดีตเมื่อ 300 ปีก่อนนี้ นักวิทยาศาสตร์ทุกคนรู้จักกฎของ Boyle ที่แถลงว่า หากเราทำให้อุณหภูมิของก๊าซคงที่ ความดันของก๊าซจะแปรผกผันกับปริมาตร กฎของBoyle ข้อนี้ ใช้ได้กับก๊าซอุดมคติเท่านั้น แต่เมื่อนำกฎนี้มาใช้กับก๊าซธรรมชาติ ก็มีการพบว่า ก๊าซธรรมชาติหาได้ประพฤติตัวตามกฎของ Boyle ไม่
ในปี พ.ศ.2416 Van der waals ได้เสนอทฤษฎีของก๊าซใหม่ โดยได้พิจารณาขนาดของโมเลกุลก๊าซและแรงกระทำระหว่างโมเลกุล สูตรของ Van der waals สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิของก๊าซได้ดีกว่าสูตรของ Boyle มาก
การรู้จักมักจี่กับ Van der waals ได้ชักนำให้ Onnes หันมาสนใจเรื่องก๊าซ เขาจึงได้พยายามทดสอบความถูกต้องของสูตรที่ Van der waals คิดสำหรับก๊าซ ณ ที่อุณหภูมิต่ำมากๆ ทันที
ก่อนที่ Onnes จะศึกษาก๊าซ 5 ปี L.P. Cailetet ชาวฝรั่งเศส และ R.P. Pictet ชาวสวิส ได้ประสบความสำเร็จในการทำก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจนให้เป็นของเหลว ซึ่งสำหรับก๊าซทั้งสองชนิดนี้ วงการวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นคิดว่า ไม่มีวันจะกลายสภาพเป็นของเหลว แต่เมื่อ Onnes สามารถทำให้ก๊าซ ethylene และอากาศเป็นของเหลวได้ที่อุณหภูมิ -87 องศาเซลเซียสและ -193 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เขาก็ได้ทุ่มเทความสนใจในการทำก๊าซฮีเลียมให้เป็นของเหลวบ้าง ฮีเลียมนั้นเป็นก๊าซเฉื่อยที่เบาที่สุด และโมเลกุลของมันมีแรงกระทำต่อกันน้อยมาก นักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนในสมัยนั้นจึงคิดว่า การทำก๊าซฮีเลียมให้เป็นของเหลวเป็นเรื่องยากและลำบากมาก
แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับ Onnes เลย เพราะในตอนเย็นของวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 นั้นเอง Onnes ก็ได้เป็นมนุษย์คนแรกของโลกที่เห็นฮีเลียมเหลว เขาจึงนำฮีเลียมเหลวที่เขากลั่นได้มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติของสารต่างๆ ที่อุณหภูมิต่ำถึง -269 องศาเซลเซียสทันที
Onnes ได้จากโลกนี้ไปในปี พ.ศ. 2469 โดยมีความเชื่อว่า วันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า มนุษย์จะมีรถไฟเหาะนั่ง และมีอุปกรณ์ทีทำด้วยตัวนำยิ่งยวดใช้ในทุกครัวเรือน ณ วันนี้ ความฝันของ Onnes ก็ยังไม่เป็นจริง
-
7273 รู้จักนักฟิสิกส์ /lesson-physics/item/7273-2017-06-13-14-29-10เพิ่มในรายการโปรด