ภาพที่เกิดจากกระจกเงา
ภาพที่เกิดจากกระจกเงา
การที่เรามองเห็นภาพต่างๆได้ เกิดจากแสงจากวัตถุสะท้อนมาเข้าตาเรา ดังนั้นเมื่อเราเห็นภาพจากกระจกเงา ก็แสดงว่ามีแสงสะท้อนภาพจากกระจกเงามาเข้าตา
1. ภาพที่เกิดจาก กระจกเงาราบ (Plane Mirrors)
การที่จะแสดงให้เห็นการเกิดภาพจากกระจก เริ่มจากเขียนทางเดินแสง(รังสี) ออกจากวัตถุ ซึ่งปกติจะกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง ไปตกกระทบกับผิวของกระจกเงาราบ ตรงจุดที่ตกกระทบให้เขียนเส้นปกติขึ้นมาได้มุมตกกระทบ ( i ) แล้วลากเส้นรังสีสะท้อนให้มุมสะท้อน ( r ) เท่ากับมุมตกกระทบ ให้ต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจก ทุกเส้นจะไปพบกันที่จุดหนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งการเกิดภาพ จะได้ระยะวัตถุ(ระยะจากวัตถุไปยังกระจก ) และระยะภาพ(ระยะภาพไปยังกระจก) มีค่าเท่ากัน เนื่องจากการเกิดภาพแบบนี้เมื่อเอาฉากหรือจอไปรับจะไม่ปรากฏภาพบนฉากรับนั้น ภาพแบบนี้เรียกว่าภาพเสมือน (อาจพิจารณาภาพเสมือนจากการที่รังสีสะท้อนไม่ได้พบกันที่ตำแหน่งเกิดภาพจริงๆ)
ฐานวัตถุอยู่ที่ P เกิดฐานภาพหลังกระจกที่ P’ และถ้าหัววัตถุอยู่ที่ Q จะเกิดหัวภาพที่ Q’
รูปแสดงการมองเห็นภาพ จากรังสีสะท้อนเข้าสู่ตา
สรุปการเกิดภาพจากกระจกเงาราบ
- เมื่อวัตถุอยู่หน้ากระจก จะเกิดภาพเสมือน ( virtual image )อยู่ด้านหลังกระจก ภาพหัวตั้งเหมือนกับวัตถุ
- ระยะวัตถุ เท่ากับ ระยะภาพ
- ความสูงของวัตถุ เท่ากับความสูงของภาพ ทำให้ค่ากำลังขยายของภาพ เท่ากับ 1 เท่า
- ภาพที่เกิดจะกลับขวาเป็นซ้าย กลับซ้ายเป็นขวา เมื่อเทียบกับวัตถุ
2. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาทรงกลม( spherical mirror )
กระจกเงาทรงกลม เป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม แบ่งเป็นกระจกโค้งเว้า ( concave mirror ) และกระจกโค้งนูน (convex mirror )
รูปแสดงกระจกโค้งนูนและโค้งเว้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม
กระจกเว้าและกระจกนูน มีจุดศูนย์กลางความโค้งที่จุดศูนย์กลางวงกลม ( c ) วัดตามแกนมุขสำคัญไปถึงกระจก เท่ากับรัศมี (R) วัดจากกระจกถึงกึ่งกลางความยาว R เท่ากับ ความยาวโฟกัส (f)
จากรูปบน เมื่อมีรังสีขนานกับแกนมุขสำคัญ เข้ามาตกกระทบกระจกโค้งเว้า จากกฏการสะท้อน จะทำให้ได้รังสีสะท้อน เข้ามาตัดกันที่จุดโฟกัส และเมื่อรังสีขนานตกกระทบกระจกนูน จะทำให้รังสีสะท้อนแยกออก แต่เมื่อต่อแนวรังสีสะท้อนไปด้านหลังกระจก จะตัดกันที่จุดโฟกัส
การเขียนทางเดินแสง เพื่อหาการเกิดภาพจากกระจกเว้า
การเขียนทางเดินแสง หาตำแหน่งการเกิดภาพ แบบที่ 1
การเขียนทางเดินแสง หาตำแหน่งการเกิดภาพ แบบที่ 2
สรุปการเกิดภาพจากการสะท้อนของกระจกเว้า
1. เกิดภาพได้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน
2. ภาพจริงมีทั้งขนาดเล็กกว่าวัตถุ ขนาดเท่าวัตถุ และขนาดใหญ่กว่าวัตถุ ภาพจริงอยู่หน้ากระจก แต่เกิดภาพเสมือนขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่หลังกระจกเท่านั้น
กระจกที่แพทย์ใช้ในการทำฟัน ทำจากกระจกเว้าเนื่องจากต้องการเห็นฟันเป็นภาพเสมือนขนาดใหญ่
รูปแสดงการเกิดภาพเสมือนขนาดใหญ่ เมื่อวัตถุอยู่หน้ากระจกเว้า โดยระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัส
การเขียนทางเดินแสง เพื่อหาการเกิดภาพจากกระจกนูน
สรุปการเกิดภาพจากการสะท้อนของกระจกนูน
เกิดภาพเสมือน ขนาดเล็กกว่าวัตถุ อยู่หลังกระจกเท่านั้น กระจกนูนสะท้อนกับวัตถุได้ในมุมกว้าง
รูปการใช้ประโยชน์จากกระจกนูนเป็นกระจกมองหลังของรถ และกระจกที่ติดตามแยก ติดในร้านค้า เนื่องจากสะท้อนเห็นภาพในมุมกว้าง
-
7278 ภาพที่เกิดจากกระจกเงา /lesson-physics/item/7278-2017-06-13-14-46-38เพิ่มในรายการโปรด