การศึกษาประสิทธิภาพความเป็นบัฟเฟอร์ของพืชตระกูลแตง
ได้ทำการทดลองเดินสารละลายเกรด HCI และเบส NaOH ลงน้ำแตงคั้นทั้ง 5 ชนิด คือ แตงกวา แตงไทย แคนตาลูบ แตงโม และฟัก พบว่า น้ำแตงทั้ง 5 ชนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ค่า ph เมื่อเดินกรด และเบสได้แตกต่างกันโดย แตงกวา แตงไทย และ แคนตาลูบ มีการเปลี่ยนแปลงค่า pH เมื่อเดินกรดในกรณีของแตงโม และฟักที่มีค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงจากเดินเป็นอย่างมาก เมื่อทำการทดสอบปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อความสามารถในการเป็นบัพเฟอร์ คือ ความเข้มขันของน้ำ แตง สภาวะที่เก็บรักษาในที่นี้คือ อุณหภูมิ และระยะเวลา ตลอดจนพันธุ์ของแตงชนิดพบว่า แตงทั้ง 3ชนิด ( แตงกวา แตงไทย และแคนตาลูบ ) สามารถรักษาความเป็นบัพเฟอร์ได้ดี เมื่อไม่มีการผสมน้ำลงไป เก็บรักษาในที่ อุณหภูมิต่ำและเก็บไม่นานเกินไป ส่วนพันธุ์ของแตงกวาที่ใช้พันธุ์เล็ก และแตงล้าน ( ผลยาว ) นั้นผลการทดลองไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าไรนักแต่ในส่วนของแคนตาลูบ พันธุ์สีเขียวมีการเปลี่ยนค่า pH น้อยกว่าพันธุ์สีส้ม ในส่วนต่างๆของแตงคือ เปลือก เนื้อ และเมล็ด นั้นได้นำมาคั้นแยกน้ำในแต่ละส่วนแล้วทดสอบเช่นเดิมพบว่า ในส่วนเนื้อของแตงทั้ง 3 ชนิดนั้นมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง pH ได้ดีกว่าส่วนอื่นๆ แต่ใน ส่วนของเมล็ดแตงไทย และแคนตาลูบความสามารถก็ไม่แตกต่างกับส่วนเนื้อเท่าใดนัก และเมื่อนำน้ำแตงทั้ง 3 ชนิดมาหาปริมาณโมลกรดและเบสที่สามารถรับได้ในช่วง pH /1 และเปลี่ยนความเข้มขันของสารลาลายมาตรฐานกรดและเบสให้มีค่าน้อยลง เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์อย่างละเอียดพบว่าแตงไทยรับโมลกรดและเบสได้มากที่ในสุด รองลงมาก็คือ แคนตาลูบพันธุ์สีเขียว พันธุ์สีส้ม และแตงกวา ตามลำดับ และเมื่อนำน้ำแตงแต่ละชนิดไประเหย นำน้ำออกบางส่วน โดยใช้เครื่อง Rotary Evaporator นั้น ปรากฏว่าน้ำแตงทั้ง 3ชนิดสามารถรับปริมาณกรดและเบสได้มากขึ้น จึงนับได้ว่าน้ำแตงมีความสามารถในการเป็นบัพเฟอร์ได้ในระดับหนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำแตงไทย ซึ่งเหมาะสำหรับในการศึกษาและประยุกต์ใช้ต่อไป เพราะไม่น่าจะส่งผลให้อันตรายในการใช้ในชีวิตประจำวัน
-
5014 การศึกษาประสิทธิภาพความเป็นบัฟเฟอร์ของพืชตระกูลแตง /project-biology/item/5014-2016-09-09-03-25-28_5014เพิ่มในรายการโปรด