ผลกระทบของการปัดเศษข้อมูลต่อความแกร่งของตัวสถิติทดสอบที (t-test)
การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรในครั้งนี้ได้มีการจำลองตัวเลขสุ่มขึ้นมา ภายใต้กรณีที่ประชากรมีการแจกแจงแบบปกติ ที่มีค่าเฉลี่ย เป็น 0 และมีความแปรปรวน เป็น 1 และนำตัวเลขสุ่มดังกล่าวไปทำการปัดเศษโดยใช้วิธีที่สนใจ แล้วนำข้อมูลที่ปัดเศษมาทดสอบกับตัวสถิติทดสอบที (t-test) กรณี 1 ประชากร โดยขนาดของตัวอย่างที่นำมาทดสอบมี 7 ระดับคือที่ขนาดตัวอย่าง 5,10,15,20,25,30 และ 40 โดยกำหนดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ไว้ 2 ระดับคือ 0.01 และ 0.05 ซึ่งได้ทำการทดสอบทั้งกรณีของการทดสอบแบบทางเดียวและกรณีของการทดสอบแบบสองทาง แล้วนำผลที่ทำการทดสอบซึ่งเรียกว่า ความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของการทดลองแล้วจึงนำค่าที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์ความแกร่งของ Cochran และ Bradley จากผลการทดสอบพบว่าการทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ภายใต้ หรือ One Tail ทางซ้ายพบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่ง ยกเว้นกรณีขนาดตัวอย่าง 10 แต่ภายใต้ หรือ One Tail ทางขวา พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่ง ยกเว้นกรณีขนาดตัวอย่าง 20 ส่วนกรณีของการทดสอบสมมติฐานภายใต้ หรือ Two Tail พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งทุกกรณีที่ทำการทดสอบ สำหรับกรณีของการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ภายใต้ หรือ One Tail ทางซ้ายจากเกณฑ์ของ Cochran พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีขนาดตัวอย่าง 10,20 และ 25 ส่วนเกณฑ์ของ Bradley พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีขนาดตัวอย่าง 20 และจากการทดสอบส่วนการทดสอบภายใต้ หรือ One Tail ทางขวาโดยเกณฑ์ของ Cochran พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีตัวอย่าง 5,20,30 และ 40 ส่วนเกณฑ์ของ Bradley พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีขนาดตัวอย่าง 20 และเมื่อทำการทดสอบภายใต้ หรือ Two Tail จากเกณฑ์ของ CoChran พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีขนาดตัวอย่าง 5,15 และ 20 ส่วนเกณฑ์ของ Bradley พบว่าตัวสถิติทดสอบทีไม่แกร่งในกรณีขนาดตัวอย่าง 10,25 และ 40
-
5059 ผลกระทบของการปัดเศษข้อมูลต่อความแกร่งของตัวสถิติทดสอบที (t-test) /project-biology/item/5059-t-testเพิ่มในรายการโปรด