การศึกษาปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงของคน
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ ศึกษาปัจจัยการยับยั้ง ATM ด้วยการใช้ ATP-depletion buffer ซึ่งสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เป็นทรงกลมที่ไม่มี แอ่งบุ๋มเว้า แต่ไม่ทำให้อัตราส่วนของปริมาณโปรตีนในกลุ่มโปรตีนค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ (cytskeletal proteins) เปลี่ยนแปลง และศึกษาการเพิ่ม ในเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยการใช้สาร ionophore (A 23187) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น 3 ประการ ได้แก่ รูปร่างเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นทรงกลมที่ไม่มีแอ่งบุ๋มเว้า อัตราส่วนของปริมาณโปรตีนในกลุ่มโปรตีนค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์เปลี่ยนแปลงลดลงและเกิดโปรตีนขนาดโมเลกุลใหญ่ การตรวจสอบผลของกรดไอโอโดแอซิติก (iodoacetic acid) ที่มีผลต่อรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงพบว่า กรดไอโอโดแอซิติก สามารถลดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกรดไอโอโดแอซิติกที่มีความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถลดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างผิดปกติได้มากกว่ากรดไอโอโดแอซิติกที่มีความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่ม ในเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยใช้สาร ionophore ในกรดไอโอโดแอซิติกสามารถลดความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของอัตราส่วนของปริมาณโปรตีนในกลุ่มโปรตีนค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ได้
-
5069 การศึกษาปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงของคน /project-biology/item/5069-2016-09-09-03-28-23เพิ่มในรายการโปรด