การทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรต่อการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในกุ้งขาว Litopenaeus vannamei
การศึกษาศักยภาพของสารสกัดสมุนไพรไทย 3 ชนิด คือ ฝรั่ง (Phidium guajava), ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculate) และขมิ้นชัน (Curcuma domestica)ในการยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในกุ้ง จำนวน 10 สายพันธุ์ได้แก่ Aerococcus viridans, Bacillus megaterium, Staphylococcus aureus, Staphylococcus haemolyticus, Enterobacter cloacae, Erwinia carotovora, Escherchia coli 363, Klebsiella peumoniae, Salmonella thyphimurium, และ Vibrio harveyi โดยสกัดสมุนไพรด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้น 80% ทำให้แห้งและละลายน้ำจากนั้นนำสารสกัดสมุนไพรทั้งหมดและส่วนใสของสารสกัดสมุนไพรมาทดสอบการต้านเชื้อด้วยวิธี Paper disc diffusion พบว่าสารสกัดจากใบฝรั่งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้มากชนิดที่สุด และก่อให้เกิดบริเวณยับยั้งที่เห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะ Vibrio harveyi และ Staphylococcus haemolyticus รองลงมาคือสารสกัดจากใบของฟ้าทะลายโจรโดยสารสกัดจากเหง้าของขมิ้นชัน เป็นเพียงชนิดเดียวที่สามารถยับยั้งการเจริญของ Erwinia carotovora และ Enterobacter cloacae โดยที่การทดสอบด้วยส่วนใสของสารสกัดสมุนไพร สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าการทดสอบด้วยสารสกัดสมุนไพรทั้งหมด อย่างไรก็ตามพบว่าสารสกัดสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Aerococcus viridans, Salmonella thyphimurium ได้ การทดสอบฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไวรัส TSV ที่ทำให้เกิดโรค Taura syndrome virus ในกุ้งขาวของสารสกัดจากสมุนไพร 3 ชนิดคือ ลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus), มะระขี้นก (Garcinia speciosa Wall.) และ พญายอ (Climacanthus nutans) โดยผสมสารสกัดสมุนไพรให้มีความเข้มข้นสุดท้ายเป็น 500 ppm. นำไปผสมกับไวรัส TSV ในอัตราส่วน 1:20 เท่าจากนั้นนำไปฉีดเข้ากล้ามเนื้อกุ้งขาวแล้วเลี้ยงต่อไปเป็นเวลา 14 วัน พบว่าสารสกัดจากใบของพญายอออกฤทธิ์ยับยั้งไวรัส TSV ได้ดีกว่าสารสกัดจากใบของลูกใต้ใบ โดยมีอัตราการรอดตาย 73.33% และ 40%
-
5094 การทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรต่อการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในกุ้งขาว Litopenaeus vannamei /project-biology/item/5094-litopenaeus-vannameiเพิ่มในรายการโปรด