การศึกษาลักษณะภายนอกและอวัยวะรับความรู้สึกที่สำคัญในเห็บ (Rhipicephalus sanguineus) โดยใช้กล้อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
เห็บเป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญในสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับคนมาก เช่น สุนัขและแมว น้ำลายของเห็บจะมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการนำโรค โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (medium) สำหรับถ่ายทอดหรือเคลื่อนย้ายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ และนอกจากเห็บจะก่อให้เกิดโรคในสัตว์เลี้ยงแล้ว ก็ยังเป็นอันตรายต่อคนด้วย เช่น การนำโรคscrub typhus หรือ หากเห็บคลานเข้าไปในช่องหูของคนแล้ว จะทำให้เกิดช่องหูอักเสบได้ จากการสำรวจปรสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่รอบมหาวิทยาลัยนเรศวรพบว่ามีเห็บอยู่เป็นปรสิตภายนอกของสุนัขเลี้ยง โดยเห็บที่พบคือ Rhipicephalus sanguineus เพียงชนิดเดียว จึงได้นำตัวอย่างเห็บที่ได้มาศึกษาลักษณะภายนอกและอวัยวะรับความรู้สึกที่สำคัญในเห็บ โดยนำตัวอย่างมาดูด้วยตาเปล่าเปรียบเทียบกับภาพที่ดูจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง(Light Microscope) และภาพที่ดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope)หรือ SEM และจากการศึกษาทำให้เห็นลักษณะสำคัญต่างๆที่ใช้ในการจำแนกชนิดของเห็บชัดเจน นอกจากนี้ยังทำให้เห็น Haller’s organ ซึ่งเป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่พบบน tarsus ของขาคู่หน้าของเห็บแข็งได้อย่างชัดเจน จากการตรวจดูภาพจาก SEM ทำให้ทราบว่าส่วนที่อยู่บน anterior pit มีลักษณะเป็นรูปกรวยคล้ายขน แต่มีรูโดยรอบ มีขนาดใหญ่กว่าขนที่อยู่ใกล้เคียงและมีเพียงอันเดียว และนอกจากนี้ยังเห็นรูบริเวณ porose area ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาด้านชีววิทยาของปรสิตภายนอกต่อไป
-
5781 การศึกษาลักษณะภายนอกและอวัยวะรับความรู้สึกที่สำคัญในเห็บ (Rhipicephalus sanguineus) โดยใช้กล้อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด /project-biology/item/5781-rhipicephalus-sanguineusเพิ่มในรายการโปรด