ผลกระทบของสวนป่าหรือพื้นที่สีเขียวต่อภูมิอากาศท้องถิ่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครในการลดอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีการศึกษาน้อย การศึกษานี้ตั้งคำถามถึงผลกระทบของชนิดต้นไม้ที่นำมาปลูกและความหนาแน่นของใบที่ปกคลุมพื้นดิน (Leaf Area Index หรือ LAI) ที่ต่างกันว่าจะช่วยลดระดับอุณหภูมิของพื้นที่เท่าไร พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (SC) มีพื้นที่สีเขียวเป็น 24 % ของพื้นที่ทั้งหมดและมีค่าLAI เฉลี่ย 2.92 หน่วย กับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี (RJ) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันแต่มีพื้นที่สีเขียวเพียง 8 % และมีค่า LAI เฉลี่ยเท่ากับ 1.12 หน่วย อุณหภูมิอากาศในช่วงที่ร้อนที่สุดของ SC และ RJ ในระหว่าง พ.ย. - ธ.ค. 2550 มีค่า 33.1 และ 35.0 °C ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยความสัมพันธ์เชิงเส้นทุกๆ 1 หน่วย LAI ที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงสุดจะลดลง 0.16 °C อย่างมีนัยสำคัญใน SC ( p 0.05) การปลูกต้นไม้เพิ่มเติมควรเลือกต้นไม้ที่มีค่า LAI มากเพื่อช่วยลดอุณหภูมิอากาศนอกจากความสวยงามเท่านั้น
-
5819 ผลกระทบของสวนป่าหรือพื้นที่สีเขียวต่อภูมิอากาศท้องถิ่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล /project-biology/item/5819-2016-09-09-03-41-41-5819เพิ่มในรายการโปรด