การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและกายวิภาคของดอกย่อยในสะตอดาน (Pakia speciosa Hassk.)
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและกายวิภาคของดอกย่อยในสะตอดาน ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากแปลงทดลองของภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2549 ในช่อดอกสะตอดานมีโครงสร้างและลักษณะทางสัณฐานของดอกย่อยแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศที่สร้างทั้งเรณูและออวุล ดอกย่อยเพศผู้ที่สร้างน้ำหวาน และดอกย่อยเพศผู้ที่เป็นหมัน ดอกย่อยทั้ง 3 ชนิดมีอัตราส่วนของดอกย่อยในช่อดอกเป็น 9:2:1 ตามลำดับ สามารถแบ่งการเจริญของช่อดอกสะตอดานตั้งแต่ระยะที่เป็นตาดอกย่อยจนกระทั่งเป็นดอกที่พร้อมจะบานได้เป็น 9 ระยะ ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 50 วัน ดอกย่อยสมบูรณ์เพศและดอกย่อยเพศผู้ที่สร้างน้ำหวานมีการสร้างอวัยวะจนครบสมบูรณ์ในระยะที่ 4 ส่วนดอกย่อยเพศผู้ที่เป็นหมันสร้างสมบูรณ์ในระยะที่ 5 ในดอกย่อยสมบูรณ์เพศและดอกย่อยเพศผู้ที่ผลิตน้ำหวาน การเจริญของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน มีการเริ่มมีการพัฒนาจาก microspore mother cell ในระยะที่ 4 จนเป็นกลุ่มเรณูที่สมบูรณ์ในระยะที่ 7 และเกสรเพศเมียที่เริ่มมีการพัฒนาจาก megaspore mother cell ในระยะที่ 4 จนเป็น embryo sac ที่สมบูรณ์หลังระยะที่ 9 ภายในรังไข่มีออวุล 12.00±2.45 อัน ติดกับรังไข่แบบ anatropous ภายในอับเรณูมีกลุ่มเรณูจำนวนแตกต่างกันในแต่ละชนิดดอกย่อยโดยพบในดอกย่อยสมบูรณ์เพศมากที่สุด (71.92±9.28) รองลงมาคือดอกย่อยเพศผู้ที่สร้างน้ำหวาน (23.02±2.96) และดอกย่อยเพศผู้ที่เป็นหมัน (0.80±1.03) ตามลำดับ และพบว่าขนาดของกลุ่มเรณู (polyad) ในดอกย่อยแต่ละชนิดแตกต่างกัน คิดเป็นสัดส่วนระหว่างความยาวในแนวยาวต่อแนวขั้วในดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยเพศผู้ที่สร้างน้ำหวาน และดอกย่อยเพศผู้ที่เป็นหมันมีค่า 2.07±0.21, 1.35±1.09 และ 1.10±0.05 ตามลำดับ ---------------------------------------------------------------------------------------- Morphology and anatomy of Sator Darn were carried out during August-November 2006 by collecting samples from Department of Pest Management, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University. There are 3 different types of florets in each inflorescence, namely, fertile flowers which are functionally both male and female with formation of polyad and ovule respectively; male flowers are functionally male with polyad and ovary reduced; staminodial flowers are functionally neuter with no gynoecium and anthers reduced or absent. The ratio of fertile:male:staminadial florets was 9:2:1. It took 50 days from floret primodium to mature floret ready to anthesis. The floral development was devided into 9 stages according to size and shape. The floral organs were completely formed in stage 4 (fertile and male florets) and in stage 5 (staminodial florets). Based on gametophyte maturation of male (in stage 5) and female (after stage 9), this plant exhibited self-incompatibility. The unicarpellate gynoecium with anatropous ovule forms in female organ. The numbers of ovules per locule were estimately 12.00±2.45 whereas approximate numbers of polyads found in fertile, male and staminodial florets were 71.92±9.28, 23.02±2.96, and 0.80±1.03, respectively. The size of polyads ratios (P:E) were 2.07±0.21, 1.35±1.09 and 1.10±0.05 in fertile, male and staminodial florets, respectively.
-
6340 การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและกายวิภาคของดอกย่อยในสะตอดาน (Pakia speciosa Hassk.) /project-biology/item/6340-pakia-speciosa-hasskเพิ่มในรายการโปรด