ศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคต่างๆ
โครงงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและทดลองการถ่ายภาพ Floppy disk drive ด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคต่างๆ ดังนี้ คือ การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคการถ่ายตรง(Direct Technique)โดยใช้ X-ray film(Kodak Type MX)เป็นตัวบันทึกภาพ การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคการถ่ายตรง(Direct Technique)โดยใช้ Neutron Imaging plate เป็นตัวบันทึกภาพและการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคการถ่ายทอด (Transfer Technique)โดยใช้ X-ray film(Type Structurix-D7)ของบริษัท Agfa เป็นตัวบันทึกภาพ จากนั้นนำภาพมาเปรียบเทียบ พบว่าภายใต้เงื่อนไขตำแหน่งที่เหมาะสมในการให้ภาพถ่ายในแต่ละเทคนิคมีคุณภาพเหมาะสมใกล้เคียงกันอยู่ในตำแหน่งที่วัตถุตัวอย่างวางห่างจากปลายท่อนำนิวตรอนในระยะ 100 เซนติเมตร ในตอนสุดท้ายนำผลข้างต้นนี้ไปใช้ศึกษาและเปรียบเทียบการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์ ในการศึกษาการถ่ายภาพด้วยนิวตรอน พบว่าเทคนิคการถ่ายตรงที่บันทึกด้วยฟิล์มรังสีเอ๊กซ์ จะใช้เวลาในการถ่ายภาพมากกว่าการบันทึกดว้ ยNeutron Imaging plate ประมาณ 60 เท่า ส่วนการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนเพื่อให้ได้คุณภาพของภาพถ่ายเหมาะสมใกล้เคียงกัน พบว่าโดยเทคนิคการถ่ายทอดซึ่งบันทึกภาพโดยฟิล์มรังสีเอ๊กซ์ มีข้อดีกว่าวิธีโดยเทคนิคการถ่ายตรงทั้ง 2 วิธี คือ ภาพมีความคมชัดกวา่ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือภาพที่ได้ไม่มีการปนเปื้อนของรังสีแกมมาจึงเหมาะสมใช้สำหรับการถ่ายภาพวัสดุหรือบริเวณที่ทำการถ่ายภาพที่มีกัมมันตภาพรังสี และมีข้อที่ไม่ดีกว่าวิธีโดยเทคนิคการถ่ายตรง คือ เวลาที่ใช้ในการถ่ายและเวลาในการได้ภาพมานานกว่าเทคนิคการถ่ายตรง สำและค่า Fluence ที่เหมาะสมมากที่สุด คือ เทคนิคการถ่ายทอดและน้อยที่สุด คือ เทคนิคการถ่ายตรงโดยใช้ Neutron Imaging plate สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์แตกต่างจากการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนคือจะให้รายละเอียดของภาพที่ดีในส่วนของวัตถุที่เป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว (Pb)แต่ให้รายละเอียดต่ำในส่วนของวัตถุที่เลขอะตอมต่ำ เช่น พลาสติก สารประกอบไฮโดรคาร์บอน และความดำของฟิล์มจะแปรผันโดยตรงกับกระแสและเวลารวมทั้งค่าความต่างศักย์ที่จ่ายให้กับเครื่องกำเนิดรังสี อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์หรือรังสีนิวตรอนการใช้เงื่อนไขที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการศึกษารายละเอียดตรงส่วนใดของวัตถุตัวอย่าง
-
6416 ศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายภาพด้วยนิวตรอนโดยเทคนิคต่างๆ /project-biology/item/6416-2016-09-09-03-49-38-6416เพิ่มในรายการโปรด