การศึกษาสมบัติของเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมสี
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของเส้นไหมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเส้นไหมของแต่ละจังหวัด ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำตัวอย่างของเส้นไหมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ วิธีการทดลองได้ศึกษาสมบัติเชิงกลของเส้นไหม คือการหาค่าแรงดึงสูงสุด ระยะยืด ณ จุดแรงดึงสูงสุด และค่ายังมอดูลัสของเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมสีและที่ไม่ได้ผ่าน กระบวนการย้อมสี เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ มีผลการวิจัย ดังนี้ 1. เมื่อแบ่งชั้นคุณภาพตามลักษณะของเส้นไหม จะเห็นได้ว่าเส้นไหมจังหวัดสุรินทร์มีคุณภาพดีที่สุด ได้คะแนน 90.3 คะแนน จัดเป็นไหม1 ชั้นพิเศษ รองลงมาคือเส้นไหมของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดบุรีรัมย์ ได้คะแนน 88.5 และ 87.3 ตามลำดับ จัดเป็นไหม 1 ชั้น 1 และสุดท้ายคือจังหวัดศรีสะเกษ ได้คะแนน 71 คะแนน จัดเป็นไหม1 ชั้น 2 2. สมบัติเชิงกลของเส้นไหมที่ไม่ผ่านกระบวนการย้อมสี จะมีค่ายังมอดูลัสที่น้อยกว่าเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมสี และเมื่อเพิ่มจำนวนเกลียวเส้นไหมจะยิ่งทำให้ค่ายังมอดูลัสมีค่าลดลง แสดงว่ายิ่งค่ายังมอดูลัสมีค่าน้อย เส้นไหมจะยิ่งมีความอ่อนนุ่ม เหมาะแก่การทออย่างยิ่ง ------------------------------------------------------------- This research has purpose for studying of tread in northeast and comparing quality of thread each province. Studying of thread come from province are Ubon Ratchathani, Sisaket, Surin and Burirum province. This studying quality passed color tint process and not is for comparing quality. Research results 1. Separting quality of thread which the best is Surin province and scored 90.3. The next is Ubon Ratchathani and Burirum province have score 88.5 and 87.3. And Sisaket province has score 71. 2. Quality of thread which not color tint. It will has Young’s modulus smaller than color tint process. And if you add spiral Young’s modulus will go down. So,little Young’s modulus thread will have soft which it appropriate weaving.
-
6417 การศึกษาสมบัติของเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมสี /project-biology/item/6417-2016-09-09-03-49-39-6417เพิ่มในรายการโปรด