สารต้านเชื้อมาลาเรียจากต้นสมัด (Clausena harmandiana)
พืชที่นำมาแยกมี 6 ชนิด ได้แก่ รากขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt) รากเล็บแมว (Zizyphus oenoplai Mill) รากสมัด (Clausena harmandiana) รากหวดข่า (Erioglossum rubiginosum) เมล็ดพันชาด (Erythopheum teymanii) และเมล็ดชุมเห็ดเทศ (Cassia alata Linn) โดยใช้ dichloromethane และ methanol เป็นตัวทำละลาย จากนั้นกรองเอาสารละลายที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพกับเชื้อราชนิด Plasmodium falciparum ด้วยวิธี Microculture Radioisotope ผลปรากฏว่าสารละลายที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อมาลาเรีย ได้แก่ รากขี้เหล็ก รากเล็บแมว รากเล็บแมว รากสมัด รากหวดข่า สารตัวอย่างที่น่าสนใจในการสกัดแยกให้บริสุทธิ์คือ รากสมัดใน dichloromethane และนอกจากนี้ยังพบว่าสารละลายจากรากสมัดใน dichloromethane มีผลึกเป็นเมล็ดกลมเล็ก ๆ อยู่ซึ่งเป็นสารชนิดใหม่คือ 3,6-dimethoxy-7carboxyacridone (0.017%) สูตรโมเลกุล dichloromethane(4.7μg / ml) จุดหลอมเหลว 247 − 248 จากนั้นจึงกรองเอาสารที่เหลือมาแยกต่อด้วยวิธี column chromatography โดยใช้ silsca gel 250 g เป็นเฟสนิ่ง (stationary phase) และใช้ 5% EtOAc-hexane เป็นตัวชะ (eluent) จากนั้นเก็บสารที่ผ่าน column เป็น fraction ละ 100 ได้สารทั้งหมด 3 ชนิด ชนิดที่ 1 ออกมาที่ fraction ที่ 17-22 ชนิดที่ 2 และ 3 ออกมาที่ fraction ที่ 28-32 จากนั้นนำสารทั้ง 3 ชนิดไปแยกด้วยวิธี preprative layer chromatographyn โดยใช้ 10% EtAc-hexane เป็น mobile phase แล้วนำสารที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์อีกครั้งด้วยวิธีการตกผลึกได้สาร ชนิดที่ 2 คือ heptaphyline (0.036%) สูตรโมเลกุล จุดหลอมเหลว 171.5-172.5 ชนิดที่ 3 คือ dentatin หรือ poncitrin (0.027%) สูตรโมเลกุล จุดหลอเหลว 94.7-95.50Cชนิดที่ 4 ชื่อ clasarin (0.006%) สูตร จุดหลอมเหลว 208 จากนั้น นำสารที่ได้ดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพอีกครั้งกับเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum ได้ผลดังนี้ 3,6-Dimethoxy-7-carboxyacridone -------------> Inactive Heptphyline -------------> 4.5 \\mu g/ml Dentatin หรือ Poncitrin -------------> 10 \\mu g/ml
-
4893 สารต้านเชื้อมาลาเรียจากต้นสมัด (Clausena harmandiana) /project-chemistry/item/4893-clausena-harmandianaเพิ่มในรายการโปรด