การศึกษาผลของสารสกัดจากยอดอ่อนของไม้เลื้อยบางชนิดที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้า
การสึกษาผลของสารสกัดจากยอดอ่อนของไม้ลื้อย 3 ชนิด ได้แก่ ตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voirgt.) , บวบ (Luffa acutangula (L.) Roxb.) และฟักทอง (Cucurbita moschata Decne) ที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าพืชทดสอบ โดยใช้วิธีการทดสอบต่างๆกัน ภายใต้แสงฟลูออเรสเซต์ 3,800 ลักซ์ 13 ชั่วโมง และใช้พืชทดสอบ 4 ชนิดคือ ข้าว (Oryza sativa Linn.) , ข้าวโพด (Zea mays Linn.) , กวางตุ้ง (Brassica cmprestris L.) , และผักกาดหัว (Rephanus sativus L. var . longipinnatus) พบว่าสารสกัดจากยอดอ่อนของไม้เลื้อยทั้ง 3 ชนิดด้วยน้ำในอัตราส่วน 1:80 , 1:40 , 1:20 และ 1:10 (น้ำหนัก : ปริมาตร) ส่งผลต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพืชทดสอบทุกชนิด โดยเฉพาะสารสกัดจากยอดอ่อนฟักทอง และยอดอ่อนบวบ ซึ่งสารสกัดจากยอดอ่อนฟักทองในอัตราส่วน 1 : 10 จะทำให้การงอดและการเจริญเติบโตของกวางตุ้งลดลงมากที่สุด แต่ในทางกลับกันพบว่าสารสกัดจากยอดอ่อนบวบในอัตราส่วน 1 : 80 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักกาดหัวได้ดีที่สุด ส่วนสารสกัดจากยอดอ่อนตำลึงทุกอัตราส่วน ไม่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตต่อพืชทดสอบมากเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบสารสกัดจากยอดอ่อนทั้ง 3 ชนิด ในการศึกษาผลของการแช่เมล็ดในสารสกัดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าพืชทดสอบและผลของสารสกัดที่ให้โดยการหย่อยลงบนยอดอ่อนของกล้า ที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าพืชทดสอบนั้น พบว่าการแช่เมล็ดกวางตุ้งด้วยสารสกัดจากยอดอ่อนฟักทองในอัตราส่วน 1 : 5 สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของกวางตุ้งได้ดีที่สุด และการหยดสารสกัดจากยอดบวบในอัตราส่วน 1 : 160 สามารถส่งเสริมการงอกและการเจริญเติบโตของผักกาดหัวได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความนำทางไฟฟ้าของสารสกัดไม่มีผลกระทบความงอกของพืชทดสอบทั้ง 4 ชนิดเลย ซึ่งศักยภาพความสามารถในการยับยั้งหรือการส่งเสริมการเจริญเติบโต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารสกัดยอดอ่อนพืช อันหมายความว่าขึ้นอยู่กับปริมาณสารชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่ในยอดพืชนั้น
-
4923 การศึกษาผลของสารสกัดจากยอดอ่อนของไม้เลื้อยบางชนิดที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้า /project-chemistry/item/4923-2016-09-09-03-25-02_4923เพิ่มในรายการโปรด