การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพในการปลูกผักไร้ดิน
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นางสาวสุกัญญา บัวศรี
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสระยา ร่วมรังษี
สถาบันการศึกษา
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ระดับชั้น
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
จากการศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพในการปลูกผักกาดหอมพันธุ์ “Red Oak” ด้วยระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินโดยศึกษาใน 5 กรรมวิธีที่ 1 ให้น้ำเพียงอย่างเดียว กรรมวิธีที่ 2 ให้น้ำหนักชีวภาพอัตรา 1:5 กรรมวิธีที่ 3 ให้สารละลายธาตุอาหารสูตร CMU#1 : น้ำหมักชีวภาพอัตรา 50 : 1และหาปริมาณธาตุสารอาหารหลักในพืชได้แก่ N, P, K, Mg และ Ca พบว่าผลจากการวิเคราะห์พบว่าการใช้น้ำหมักชีวภาพในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินสามารถเป็นอาหารเสริมช่วยให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมมีมากขึ้นแต่ปริมาณธาตุสารอาหารหลักในพืชได้แก่ N, P, K, Mg และ Ca ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับชุดควบคุมคือกรรมวิธีที่ 3 ให้สารละลายธาตุอาหารสูตร CMU#1 ฉะนั้นการผสมสารละลายธาตุอาหารและน้ำหมักชีวภาพจึงสามารถช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการปลูกผักแบบไม่ใช้ดินได้
ดาวน์โหลด
คำสำคัญ
น้ำ,หมัก,ชีวภาพ,,ผัก,ดิน
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวสุกัญญา บัวศรี
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
4966 การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพในการปลูกผักไร้ดิน /project-chemistry/item/4966-2016-09-09-03-25-14_4966เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (81919)
ให้คะแนน
ในปัจจุบันนี้ความต้องการในการใช้พลังงานไฟฟ้ามีอัตราที่สูงมาก ...