การเปรียบเทียบลักษณะบางประการของผิวเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียรุนแรงและไม่รุนแรงในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ
โรคมาลาเรีย หรือไข้จับสั่นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อน (tropical region) เชื้อมาลาเรีย (malaria parasite) เป็นสโปโรซัว (sporozoa) ที่อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง และ species หนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคในคน คือ Plasmodium falciparum ซึ่งมีทั้ง isolate ที่ก่อให้เกิดโรค cerebral malaria และ isolate ที่ก่อให้เกิดโรค cerebral malaria phosphatidylserine เป็น phospharipid ชนิดหนึ่ง ที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง มีงานวิจัยในอดีตมากมายเกี่ยวกับการตรวจพบ และ ไม่ตรวจพบ phosphatidylserine ของผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย ซึ่งมีรายงานว่า phosphatidylserine ที่ flop ออกมาที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงกระตุ้นให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค cerebral malaria โครงงานนี้ได้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจหาและเปรียบเทียบปริมาณ phosphatidylserine ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) isolate ที่ก่อให้เกิดโรค cerebral malaria ในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยคือ flow cytameter ในการวิเคราะห์หาปริมาณ phosphatidylserine ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงในการทดลองนี้ได้เลือกเชื้อมาลาเรียทั้งหมด 4 Isolate เป็น isolateที่ก่อให้เกิดโรค cerebral malaria 2 Isolate คือ 8922 และ 267 และ isolate ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค cerebral malaria 2 isolate คือ KL 35 และ CD 36 โดยทำการตรวจหาปริมาณ parasite (ย้อมด้วย Hydroethidine) และปริมาณ phosphatidylserine(ย้อมด้วย Annexin V) ในระยะ ring form, trophozoite และ schozont ผลปรากฏว่าสามารถตรวจพบปริมาณ phosphatidylserine ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงทั้ง 2 Isolate ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ flow cytometer ทำให้สามารถตรวจนับเซลล์จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และ แม่นยำมากขึ้น ส่วนในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ คือ ring form, trophozoite และ schozont ปรากฏว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณ phosphatidylserine โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นเพราะการเติบโต และปริมาณของ parasite เพิ่มมากขึ้น
-
4981 การเปรียบเทียบลักษณะบางประการของผิวเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียรุนแรงและไม่รุนแรงในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ /project-chemistry/item/4981-2016-09-09-03-25-18_4981เพิ่มในรายการโปรด