รูปแบบกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์สาหร่ายน้ำจืดวงศ์ Characeae
ใช้ “ระบบไวเบรติงโพรบ” (Vibrating Probe System) ที่วัดได้ใน 2 มิติ (แกนX และแกน Y) ศึกษารูปแบบของกระแสไฟฟ้าไอออนรอบเซลล์สาหร่ายน้ำจืดวงศ์ Characeae ในสภาวะปกติ และเมื่อเติมสารพิษจำพวกโลหะ ในที่นี้คือ อะลูมิเนียมในรูป วัดกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์ลำดับที่ 3 และลำดับที่ 5 จากจุดที่งอก ในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์ลำดับที่ 3 ทิศพุ่งเข้าสู่เซลล์เกือบทุกตำแหน่ง ด้วยขนาดในช่วง 0.091 – 1.262 ส่วนในเซลล์ลำดับที่ 5 กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่มีทิศเข้าสู่เซลล์ด้วยขนาด 0.091 – 0.443 เมื่อเติม พบว่าในเซลล์ลำดับที่3 จะมีบางจุดที่กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนทิศจากเข้าสู่เซลล์เป็นออกจากเซลล์ ในจุดอื่นๆทิศของกระแสไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลง ขนาดของกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นโดยมีขนาดในช่วง 0.035 – 1.414 กรณีของเซลล์ลำดับที่ 5 เมื่อเติม กระแสไฟฟ้าในเกือบทุกตำแหน่งมีทิศเข้าสู่เซลล์ด้วยขนาดที่เพิ่มขึ้น โดยค่าของกระแสไฟฟ้าอยู่ในช่วง 0.038 – 0.932
-
4988 รูปแบบกระแสไฟฟ้าไอออนรอบๆเซลล์สาหร่ายน้ำจืดวงศ์ Characeae /project-chemistry/item/4988-characeaeเพิ่มในรายการโปรด