Forward Wing โครงสร้างแนวใหม่
โครงงานนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแรงยก และแรงต้านของ Model ปีกเครื่องบิน ในรูปแบบที่ต่างกัน โดยนำแบบจำลองที่เราจำลองไว้ 3 แบบ คือ D1-Dimple Wing D2-Back Wing และ D3-Fotward Wing ไปทดสอบกับเครื่อง Aerodynamics Apparatus และนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลคำนวณทางทฤษฎี โดยปกติ ปีกเครื่องบินจะมีส่วนหนึ่งที่สำคัญเป็นตัวช่วยในการเพิ่มแรงยก คือ flab flab เป็นชิ้นส่วนที่สามารถขยับขึ้นลงได้ แต่แบบจำลอง ทั้ง 3 แบบ ถูกออกแบบให้ส่วนนั้นไม่สามารถขยับได้ แบบจำลองทั้งชิ้นจะเป็นเนื้อเดียวกันหมด โดย flab ถูกกำหนดองศาที่ 10 องศา อ้างอิงโดยแนวระดับ ในการศึกษาความแตกต่างของแบบจำลองทั้ง 3 แบบที่สัมพันธ์กับ แรงยก และ แรงต้าน โดยความเร็วลมในอุโมงค์ลมถูกกำหนดที่ 6.5 m/s และให้มุมที่แบบจำลองเปลี่ยนไปซึ่งอ้างอิงกับแนวระดับ เป็นตัวแปรผันเพื่อดูความแตกต่างของแบบจำลองทั้ง 3 แบบ แบบจำลองที่ 1 มุม α ที่ ปรับระดับของปีก ณ ระดับองศาต่าง องศาที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแรงยกมากที่สุดคือ α ค่าเฉลี่ยของแรงยกที่ได้จากการทดลอง คือ 1.38 N และเมื่อเปรียบเที่ยบกับผลคำนวณทางทฤษฎี คือ 1.11 N ซึ่งพบว่ามีความผิดพลาดไป 19.56% แบบจำลองที่ 2 มุม α ที่ 10 องศาที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแรงยกมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของแรงยกที่ได้จากการทดลอง คือ 1.16 N และเมื่อเปรียบเทียบกับผลคำนวณทางทฤษฎี คือ 0.66 N ซึ่งพบว่ามีความผิดพลาดไป 43.1% แบบจำลองที่ 3 มุม α ที่ 7 องศาที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแรงยกมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของแรงยกที่ได้จากการทดลอง คือ 1.24 N และเมื่อเปรียบเทียบกับผลคำนวณทางทฤษฎี คือ 0.71 N ซึ่งพบว่ามีความผิดพลาดไป 42.74%
-
5040 Forward Wing โครงสร้างแนวใหม่ /project-chemistry/item/5040-forward-wingเพิ่มในรายการโปรด