การแกว่งของไม้เมตรกับการเดินของคน
ในแต่ละวัน เราทุกคนจะต้องเดินไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จากการสังเกตดูการเดินของคนแต่ละคนสังเกตเห็นว่าแต่ละคนมีลักษณะการเดินที่แตกต่างกัน บางคนเดินก้าวสั้น บางคนเดินก้าวยาวหรือแม้แต่บางคนเดินกระแทกเท้า เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่าการเดินของแต่ละคนมีลักษณะคล้ายกับการเดินแบบแกว่งไปมาเหมือนลักษณะของการแกว่งแบบ simple harmonics ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาเราจะก้าวไปด้วยความถี่ที่ใกล้เคียงกัน จากการสังเกต ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะทำโครงงานเรื่อง “การแกว่งของไม้เมตรกับการเดินของคน” เพื่อที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแกว่งของไม้เมตรกับลักษณะการเดอนของคนโดยในตอนที่ 1 เป็นการศึกษาการแกว่งของไม้เมตร ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการแกว่งของไม้เมตรเป็นไปตามสมการ และหลังจากนั้นในตอนที่ 2 ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะการก้าวเดินของคนในลักษณะที่ ขณะเดินก้าวขาทำมุมกับแกนลำตัวเป็นมุม เท่าไรและงอเข่าเป็นมุม เท่าไร โดยใช้กลุ่มบุคคลทดสอบวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความยาวแขน ความยาวขาเป็นช่วง ๆ คือขาท่อนบน ขาท่อนกลาง และขาท่อนล่าง แล้วให้เดินตามความถี่ปกติเป็นจำนวน 10 ก้าวจับเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 ก้าว นำมาคำนวณหาค่ามุม และในมุม จากสมการ ซึ่งเป็นสมการที่แปลงมาจากสมการการแกว่งของไม้เมตร โดยคิดเป็นแบบจำลองการก้าวขา 2 แบบคือ แบบที่ 1 (สมมติว่าขาของคนเรามีลักษณะเป็นท่อนตรง) และแบบที่ 2 (สมมติว่าขาคนทำมุมกับแกน z เป็นมุม และงอเข่าทำมุม ) การหาค่ามุม และ เราใช้การสุ่มค่ามุมเข้ามาแทนในสมการที่ใช้ในการหาค่า มาเปรียบเทียบกับค่า ที่เราคำนวณโดยแทนค่า T จากข้อมูลที่เก็บได้ แล้วได้ข้อสรุปว่าลักษณะการเดินของกลุ่มคนทดสอบ มีการเดินเป็นไปตามแบบจำลองแบบที่ 2 โดยที่ขณะเดินขาจะทำมุม กับแนวแกนลำตัวเท่ากับ 30 องศา และงอเข่าทำมุม เท่ากับ 30 องศา โดยการคำนวณนี้เราใช้แบบจำลองมนุษย์ซึ่งสามารถใช้กับกลุ่มบุคคลทดสอบได้โดยที่มีความคลาดเคลื่อนในการวัดความยาวแขน 2.33% คลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวขารวม 2.24% คลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวขาบน 6.73% คลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวขากลาง 4.01% คลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวขาล่าง 10.00%
-
5064 การแกว่งของไม้เมตรกับการเดินของคน /project-chemistry/item/5064-2016-09-09-03-28-21เพิ่มในรายการโปรด