ฟรอนต์เอ็นสำหรับโปรแกรมเน็ตเวิร์คซิมูเลชั่น
ในปัจจุบันเครือข่ายของคอมพิวเตอร์มีอยู่ทุกหนแห่งตั้งแต่ขนาดเล็กเช่นเครือข่ายในบ้านไปจนขนาดใหญ่เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงถือได้ว่ามีความสำคัญมาก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครือข่ายในปัจจุบันนั้นมีโปรแกรมการจำลองเครือข่ายเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางจำลองเพื่อทำความเข้าใจในทฤษฎีหรือการเชื่อมต่อต่างๆ มากกว่าที่จะพิจารณาด้านการสัญจรของข้อมูล โปรแกรมเน็ตเวิร์ค ซิมูเลชั่นเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่จำลองเครือข่ายในลักษณะเพื่อการจำลองเครือข่ายเพื่อดูการ สัญจรของข้อมูลที่วิ่งเข้าออก,การเข้าคิวของข้อมูลหรือการสูญหายของข้อมูล โดยโปรแกรมเน็ตเวิร์คซิมูเลชั่นนี้ถือได้ว่ามีความสามารถค่อนข้างสูงสำหรับจำลองโปรโตคอลต่าง ๆ ได้หลากหลาย รวมไปถึงเครือข่ายไร้สาย แต่โปรแกรมนี้มีจุดอ่อนตรงที่การใช้งานโปรแกรมนี้ต้องทำผ่านอินเตอร์พรีเตอร์ซึ่งไม่สะดวกและผู้ใช้จำเป็นต้องรู้รูปแบบของคำสั่งเฉพาะของภาษาทีซีแอล และการติดตั้งโปรแกรมทำได้ยาก ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาส่วนของ ฟรอนต์เอ็นของโปรแกรมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานสำหรับผู้ที่สนใจใช้งานโปรแกรมเน็ตเวิร์คซิมูเลชั่น Nowadays, computer networks exist worldwide ranging from small size as in household networks through large size as in computerize networks in huge companies or organizations. The Computer network currently plays a very important role. Understanding in networks mostly focus on network stimulation, which is based on theories or connectivites, rather than data transfer. The network stimulation is one of the model programs, which aim on data inflow and outflow, queuing or loss. The network stimulation is of high capability for several simulate protocols and wireless networks. However, this program has a weak point in terms of the fact that it must be carried out through interpreters. Therefore, it is not convenient for users because they have to know specific command of TCL language and the program installation is also difficult. This project thus aims at implementing program front-end and is convenient for those who utilize the network stimulation program.
-
5201 ฟรอนต์เอ็นสำหรับโปรแกรมเน็ตเวิร์คซิมูเลชั่น /project-chemistry/item/5201-2016-09-09-03-28-59_5201เพิ่มในรายการโปรด