การสร้างแบบจำลองการไหลของน้ำยางพารา (Modeling of Para Rubber Tree Latex Flow)
โครงงานนี้เสนอปัญหาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ หรือการมีอยู่ (Existence problem) ของรอยกรีดที่ให้ปริมาณน้ำยางพาราสูงที่สุด ซึ่งพิจารณาจากปัญหา Brachistochrone เมื่อคลี่หน้ากรีดยางให้อยู่ในระนาบดิ่ง จะมีลักษณะเหมือนพื้นเอียง ที่มีน้ำยางไหล และน้ำยางมีเวลาในการไหลจำกัด คือหลังจากกรีดแล้วประมาณ 5 ชั่วโมง ฉะนั้น ถ้าเวลาที่ใช้ในการไหลอยู่บนรอยกรีดของน้ำยางน้อยที่สุด แล้วน้ำยางที่ได้ไหลก็จะมากที่สุด ภายในเวลารวมอันจำกัด ซึ่งรอยกรีดที่ได้เป็นรูป Cycloid จากนั้นนำรอยกรีดที่ได้ไปพิจารณาจากปัจจัยต่างๆดังนี้ กายวิภาคของต้นยางพารา คือ ศึกษาลักษณะการเวียนของท่อยางรอบต้นยางซึ่งท่อน้ำยางเรียงตัวรอบลำต้นตามแนวดิ่งเป็นชั้นๆโดยทั่วไป อยู่ในลักษณะเอียงไปทางขวาจากแนวดิ่งเล็กน้อยประมาณ 2.1 – 7.1 องศา การสิ้นเปลืองเปลือกของยางหลักการเบิกกรีดแล้ว และลักษณะหน้ากรีดยางพารา แบบจำลองที่สร้างขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น (Empirical data) เกี่ยวกับอัตราการไหลของน้ำยางพาราที่เวลาต่างๆ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติ สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลเป็นการลดลงแบบยกกำลัง (exponential decay) การทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่ารอยกรีดที่ให้ปริมาณน้ำยางพาราสูงที่สุดเป็นไปได้ และมีอยู่จริง คือ รอยกรีดที่เรียกว่า cycloid
-
5252 การสร้างแบบจำลองการไหลของน้ำยางพารา (Modeling of Para Rubber Tree Latex Flow) /project-chemistry/item/5252-modeling-of-para-rubber-tree-latex-flowเพิ่มในรายการโปรด