กษัตริย์แห่งอโยธยา THE KING OF AYOTHAYA
การอิงถึงประวัติศาสตร์ในยุคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งจะยกเอาส่วนหนึ่งของการสู้รบระหว่างกรุงหงสาวดีและกรุงอโยธยาที่ประกาศอิสรภาพอันเนื่องมาจากหลังที่พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในบีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และสถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสา มีอันต้องพลัดมือมาอยู่ในปกครองของ พระเจ้านันทบุเรง สัมพันธ์ไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หามิได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังยุทธนาวีกับพระยาจีนจันจุ และศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้า สมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์และแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึก หมายจะปรงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคนฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธ์กับหงสาวดี โดยมีคำพูดที่ว่า “ ข้าแต่เทพดาอันมีมหิทธิฤทธิและทิพจักขุ ทิพโสต ซึ่งสถิตอยู่ทุกทิศานุทิศ ทรงเป็นทิพยานด้วยพระเจ้าหงสาวดีมิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริต มิตรภาพขัตติยาประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติทางทุจริตคิดจะทำพยันตรายแก่เรา ตั้งแต่วัวนี้ไป กรุงพระนครศรีอยุธยากับเมืองหงสาวดี มิได้เป็นสุวรรณปัฐพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อนขาดจากกันแต่วันนี้ไป ตราบเท่ากัลปาวสาน ” ซึ่งเป็นชนวนให้เพระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งรุกรามราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นแนวทางที่ดีที่ทางกลุ่มของข้าพเจ้าคิดที่จะทำโครงการเรื่องนี้ขึ้นมาเนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวไปโดยเป็นการอิงถึงประวัติศาสตร์ที่คนไทยจะต้องจารึกอยู่ในใจของคนไทยตราบนานเท่านาน
-
5322 กษัตริย์แห่งอโยธยา THE KING OF AYOTHAYA /project-chemistry/item/5322-the-king-of-ayothayaเพิ่มในรายการโปรด