การพัฒนาความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความ
การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการอ่านเชิงวิเคราะห์จึงเป็นทักษะการอ่านที่ทำให้ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์ แยกแยะข้อเท็จจริงจากการอ่าน สรุปความคิดเห็นของเรื่องที่อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านสารที่มีประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านได้ ซึ่งการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 7 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 นิทานเสริมความรู้ เล่มที่ 2 รอบรู้สาระจากบทความ เล่มที่ 3 เพลิดเพลินกับบทร้อยกรอง เล่มที่ 4 เพลินใจไปกับบทเพลง เล่มที่ 5 รายละเอียดของคำชี้แจง เล่มที่ 6 วิเคราะห์สื่อจากโฆษณา และเล่มที่ 7 วิเคราะห์ข่าวให้รู้จริง แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิธีดำเนินการศึกษา คือ ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ เมื่อดำเนินการสอนเสร็จทั้ง 7 เล่ม ทำการทดสอบหลังเรียน และวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน และค่า t - test ผลการศึกษาพบว่า 1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.13/86.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 2. ความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ อยู่ในระดับมาก
-
5367 การพัฒนาความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความ /project-chemistry/item/5367-2016-09-09-03-36-47-5367เพิ่มในรายการโปรด