การใช้อนุพันธ์ของ C60 เป็นตัวยับยั้งไวรัส: ศึกษาโดยวิธีด็อกกิ้งแบบแข็งเกร็งและยืดหยุ่น
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ธีรพงศ์ ไพโรจน์ศิริกุล
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ประวิทย์ สุดแก้ว, วรรณจันทร์ แสงหิรัญ ลี
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
โมเลกุลาร์ด็อกกิ้งถูกนำมาใช้ศึกษาอันตรกิริยาระหว่างอนุพันธ์ของฟุลเลอรีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของไวรัส 3 ชนิดคือ HIV-1, SARS-CoV and H5N1 โดยเลือกอนุพันธ์ของฟุลเลอรีน 9 ชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งไวรัสมาด็อกกับเอนไซม์เหล่านี้โดยใช้โปรแกรมAutodock 3.0.5 และ CAChe6.1 สำหรับการด็อกแบบแข็งเกร็ง-ยืดหยุ่นและการด็อกแบบยืดหยุ่น-ยืดหยุ่นตามลำดับ ค่าพลังงานการยึดจับคำนวณโดยใช้ Autodock อยู่ในช่วง -8.27 ถึง -21.63 kcal/mol และค่า PMF scores คำนวณโดยใช้ CAChe อยู่ในช่วง -156.09 ถึง -555.10 kcal/mol ค่าพลังงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความน่าจะเป็นในการใช้อนุพันธ์ของฟุลเลอรีน เป็นตัวยับยั้ง HIV-1, SARS-CoV and H5N1 โดยที่อนุพันธ์ของฟุลเลอรีนที่ยึดจับกับ HIV-1, SARS-CoV and H5N1 ได้มีประสิทธิภาพคือ อนุพันธ์ของฟุลเลอรีนหมายเลข 1 และ 7
คำสำคัญ
อนุพันธ์,C60,ไวรัส,ด็อก,กิ้ง,แข็ง,เกร็ง,ยืด,หยุ่น
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธีรพงศ์ ไพโรจน์ศิริกุล
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5536 การใช้อนุพันธ์ของ C60 เป็นตัวยับยั้งไวรัส: ศึกษาโดยวิธีด็อกกิ้งแบบแข็งเกร็งและยืดหยุ่น /project-chemistry/item/5536-c60เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (79320)
ให้คะแนน
เชื้อ Staphylococcuc aureus เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง ...